4 สุดยอดสมบัติจีน (3) พู่กัน นับตั้งแต่โบราญมาแล้ว ที่คนจีนใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนที่ตนประดิษฐ์ขึ้น เพื่อจารึกเรื่องราวต่างๆ รวมไปถึงการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งปวง อุปกรณ์เครื่องเขียนที่ว่านี้ คนจีนเรียกว่า “เหวิน ฝวงซื่อเปา” แปลว่า สมบัติสี่อย่างในห้องหนังสือ
จตุรพิธสมบัติในที่นี้หมายถึงสมบัติล้ำค่าสี่อย่างที่ต้องมีอยู่ในห้องหนังสือของขุน
นางบัณฑิตทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ พู่กัน กระดาษ หมึก และจานหมึก คนจีนใช้ชุดเครื่องเขียนสี่อย่างนี้ทั้งการเขียนหนังสือ การเขียนภาพ และยังรวมไม่ถึงการเขียนลายมือเชิงศิลปะที่เรียกกันว่า “ซูฝ่า” ซึ่งอยู่ก่ำกึ่งระหว่างงานเขียนกับงานศิลปะ จนเป็นเหมือนกับฝาแฝดกับงานเขียนภาพอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว
ภายหลังจากยุคที่ต้องใช้การสลักบนกระดูกสัตว์เพื่อการทำนาย และการสลักบนไม้ ซีกไม้ไผ่ และหิน เพื่อจารึกเหตุการณ์เรื่องราวแล้ว คนจีนจึงเริ่มประดิษฐ์ “พู่กัน” อุปกรณ์การเขียนที่แสนมหัศจรรย์นี้ขึ้น เพื่อใช้แทนการสลักคำอักษรที่ทั้งเสียเวลาและยุ่งยาก แน่นอนว่าการจะใช้พู่กันได้ ย่อมต้องมีอุปกรณ์อื่นประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหรือน้ำหมึกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หกแต่น่าเสียดายที่พู่กันเป็นเครื่องเขียนที่ดูแลรักษายากและชำรุดเสียหาย ง่าย เราจึงไม่ใคร่พบเห็นพู่กันโบราณที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน
แม้จะไม่มีพู่กันโบราณให้ดู แต่ข้อมูลจากเอกสารประวัติศาสตร์ก็ช่วยให้เรารู้ว่า พู่กันโบราณทำจากขนสัตว์หลายชนิดทีเดียว มีตั้งแต่ขนและหนวดของสัตว์สี่เท้าอย่าง หมู กระต่าย แพะ (ทั้งแพะขาว แพะดำ และแพะเหลือง) ม้า กวาง ชะมด หนู เสือ สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก และนาก เป็นต้น ขนจากสัตว์ปีกเช่น ขนห่าน ขนเป็ด ขนไก่ ไก่ฟ้า นกยูง เป็นต้น รวมไปถึงหนวดและเส้นผมของคน เช่น ผมเด็กทารกแรกเกิด นี่เป็นการแบ่งตามชนิดของขนที่นำมาทำพู่กัน แต่หากแบ่งกันตามคุณสมบัติของพู่กันแล้ว ก็จะได้พู่กันขนแข็ง ขนอ่อน และถ้าแบ่งตามวัสดุที่นำมาใช้ทำตัวพู่กันและกรรมวิธีประดิษฐ์ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น พู่กันไม้รวก ไผ่ ไม้กฤษณา ไม้จันทร์ และไม้หอมอื่นๆ รวมทั้งงาช้าง นอแรด เขาวัว เขากวาง กระดองเต่ากระ หรือแม้แต่กระเบื้องเคลือบก็มี นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักลวดลายต่างๆ และลงรักลงสีอีกด้วย หรืออาจประดับตกแต่งด้วยหยก แก้ว ลูกปัด ทอง เงิน เป็นต้น
การขุดพบเครื่องเคลือบดินเผาที่มีลวดลาย และกระดูกสัตว์ที่มีอักขระโบราณจารึกไว้ซึ่งเรียกกันว่า กระดูกมังกร ที่มีไว้เพื่อใช้ในการทำนายในสมัยราชวงศ์ซางและก่อนหน้านั้น ช่วยให้เรามองเห็นร่องรอยการเขียนหนังสือของคนจีนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ชัดเจนขึ้น ครั้นมาถึงสมัยราชวงศ์ตงโจวหรือกว่าสองพันปีที่แล้ว คนจีนเริ่มมีพู่กันใช้กันแล้ว จากหลักฐานคือซีกไผ่ และผ้าแพรต่วนที่มีคำอักษรจีนจารึกไว้ด้วยการใช้พู่กันเขียน โดยพู่กันเล่มเก่าแกที่สุดเท่าที่เคยมีการขุดค้นพบในปัจจุบันมาจากสุสานของ เจิงโหวอี
้ ในมณฑลหูเป่ย ต่อมาก็มีการขุดพบพู่กันอีกหลายเล่ม ต่างยุคต่างสมัยกัน เช่น พู่กันสมัยจั้นกั๋ว (Warring states) ขุดพบที่เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน พู่กันสมัยราชวงศ์ฉินขุดพบที่หูเป่ยและกานซู พู่กันในสมัยราชวงศ์ฮั่น ขุดพบจากสุสานหม่าหวางทุยอันเลื่องชื่อในมณฑลหูหนาน พู่กันในสมัยราชวงศ์ซีจิ้น ขุดพบในเมืองวูเวย และยังมีการขุดพบอีกใน ตุนหวง มองโกเลียใน เป็นต้น พู่กันที่ขุดพบเหล่านี้ถือเป็นสมบัติล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่ง ที่คนโบราณทิ้งทอดไว้ให้เราได้ศึกษาเรื่องราวของจีนโบราณได้เป็นอย่างดี
หากแต่คนจีนกลับเชื่อกันว่า เมิ่งกัวแม่ทัพใหญ่ในสมัยราชวงศ์ฉินเป็นคนประดิษฐ์พู่กันขึ้นเป็นคนแรกตาม บันทึกของจางหัวขุนนางใหญ่และนักวรรณกรรมในสมัยราชวงศ์จิ้น (พ.ศ. ๗๗๕-๘๔๓) ที่ระบุไว้ในหนังสือ “ป๋อวู่จื่อ” ของเค้า “เมิ่งกัวประดิษฐ์พู่กัน” ยกเมิ่งกัวขึ้นเป็นบิดาแห่งพู่กันจีนไป
แม้ว่าจากหลักฐานการขุดพบพู่กันโบราณที่มีมาก่อนสมัยของเมิ่งกัวจะสามารถยืนยันได้ว่า เมิ่งกัวมิใช่ผู้แรกที่ประดิษฐ์พู่กันก็ตาม ตึความจริงอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ พู่กันในสมัยของเมื่งกัวมีความประณีตสวยงามมาก หานอวี้กวีอีกคนหนึ่งในสมัยราชวงศ์ถังเขียนไว้ใน “เหมาอิ่งจ้วน” ว่าแม่ทัพเมิ่งกัวยกทัพลงใต้ไปปราบปรามแคว้นฉู่ และถือโอกาสขึ้นเขาไปล่ากระต่ายเพื่อเอาขนมันมาทำพู่กันถวายแด่ ฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) และในหนังสือเล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดของ
ซือหม่าเชียนก็บึนทึกไว้ในทำนองเดียวกันนี้ หากแต่เอเติมรายละเอียดว่า ฉินสื่อหวงตี้ทรงโปรดพู่กันเล่มนี้มาก ถึงกับยกเมืองให้เมิ่งกัวปกครอง พู่กันเล่มนี้จึงถูกเรียกว่า “ก่วนเฉิง” หมายถึงการดูแลปกครองเมือง ก่อนหน้าที่ฉินสื่อหวงตี้จะรวบรวมแผ่นดินจีนเข้าเป็นปรึกแผ่น แต่ละแคว้นเรียกพู่กันในชื่อที่แตกต่างกันไปหลากหลายชื่อ แต่หลังจากที่พระองค์รวบรวมหกแคว้นเข้าเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ ทรงโปรดให้เรียกพู่กันว่า “ปี่” เป็นบรรทัดฐานเดียวกันทั้งประเทศ
ล่วงเข้าในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศจีนมีความรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรมที่ สุดยุคหนึ่ง ได้มีการค้นพบกระดาษของจีน ทำให้พู่กันได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น พู่กันของยุคนี้เรียกว่า พู่กันขนผสม เพราะมีการนำเอาขนของสัตว์หลายๆ ชนิดมาผสมทำเป็นหัวพู่กัน ดังนั้นขนพู่กันจะมีทั้งขนแข็งและอ่อนปนกัน และยังมีการตกแต่งตัวด้ามของพู่กันให้ดูสวยงามขึ้นด้วย
ถังปิ่งจวินเขียนไว้ในหนังสือ “เหวินฝางซื่อข่าวถูซัว” ว่า “พู่กันที่ประดิษฐ์ในสมัยฮั่นนิยมดิ้นด้วยทอง ประดับด้วยหยกเนื้อดี ร้อยห้อยด้วยไข่มุก แต่งด้วยหยกเขียว ตัวด้ามถ้ามิได้ทำจากนอแรดก็ต้องทำด้วนงาช้าง จึงสวยงามยิ่งนัก”
นี่แสดงให้เห็นว่า พู่กันในสมัยฮั่นมิใช่เพียงเครื่องเขียนสำหรับเขียนหนังสือและวาดภาพอีกต่อ ไป แต่ได้กลายเป็นงานศิลปะไปเสียแล้ว จึงมักมีชื่อของช่างทำพู่กันสลักไว้บนด้ามพู่กันเสมอ และเรื่องที่คงไม่มีใครคิดถึงก็คือ พู่กันได้กลายเป็นเครื่องประดับกายอย่างหนึ่งไปด้วย เรียกกันว่า “ไป๋ปี่” คือพู่กันใหม่ที่ยังไม่เคยจุ่มหมึกเขียนมาก่อน บัณฑิตและขุนนางมักนิยมเอามาเสียบเอาไว้ที่มวยผม โดยเฉพาะพวกขุนนางสมัยฮั่นมักนิยมปักพู่กันเข้าเฝ้าด้วยเสมอ เพื่อความสะดวกเวลาถวายงานแก่พระเจ้าแผ่นดิน ด้ามของพู่กันในสมัยนี้จึงค่อนข้างยาวมาก
ความนิยมนี้เลิกไปในสมัยราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น ทำให้ตัวด้ามของพู่กันหดสั้นลงกว่าเดิม ในสมัยสามก๊กซึ่งเป็นยุคก่อนหน้านี้ มีช่างพู่กันอยู่คนหนึ่งชื่อ เว่ยตั้น ซึ่งเป็นชาวเมืองซีอานในแคว้นเว่ย (หรือวุยก๊ก) ได้เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องของพู่กันไว้ด้วยชื่อ “ปี่จิง” พู่กันที่เค้าประดิษฐ์มีชื่อเสียงไปทั่ว จนคนเอาชื่อของเค้ามาตั้งเป็นชื่อพู่กันว่า “เว่ยตั้นปี่”
ครั้นมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง พู่กันเปลี่ยนหน้าตาไปอีก หัวพู่กันสั่นและแข็ง เมืองซวนเฉิงในมณฑลอันฮุยเป็นแหล่งรวมช่างพู่กันฝีมือดีมีชื่อหลายคน เช่น หวงฮุย พู่กันของเค้ามีหัวสั้นและแหลมคล้ายเดือยไก่ จึงเรียกว่า “พู่กันเดือยไก่”
ช่างพู่กันอีกคนหนึ่งไม่ทราบชื่อที่แน่นอน ทราบเพียงว่าแซ่เฉิน พู่กันของเค้าได้รับความนิยมมากในหมู่จิตรกรและนักเขียนภาพอักษร ถึงขนาดว่านักเขียนภาพอักษรที่มีชื่อเสียงอย่าง หลิ่วคงฉวน เคยไปขอพู่กันจากเค้า เรื่องราวนี้มีบันทึกอยู่ใน “เหวินเจี้ยนโห้วลู่” ของเส้าป๋อในสมัยราชวงศ์ซ่ง
ช่างพู่กันในสมัยเดียวกันที่มีฝีมือดีอีกคน แซ่จูเก๋อ ตัวพู่กันทำจากขนสัตว์สองชนิดผสมกัน ทำให้คงทนกว่า พู่กันของช่างตระกูลจูเก๋อก็มีชื่อเสียงพอๆ กับของตระกุลเฉิน และก็เป็นที่นิยมของนักเขียนศิลปะลายมืออักษณจีนและกวีเหมือนกัน ใน “เจียงเปี่ยวจื้อ” ของเติ้งเหวินเป่าบันทึกว่า “หวางฉงเชียนชอบการเขียนภาพอักษรและกำลังหัดเขียนศิลปะภาพอักษรแบบข่ายซู ใช้พู่กันของตระกูลจูเก๋อ ราคาเล่มละ ๑๐ ตำลึงทอง ถือเป็นสุดยอดพู่กันในสมัยนั้น ด้วยเขียนแล้วตัวอักษรดูมีพลัง และชวนพิศวงหวางฉงเชียนจึงตั้งฉายาให้ว่า เสียงซวนเป๋าโจ่ว (พู่กันที่เขียนได้พลิ้วไหวมาก)”
พู่กันจากเมืองซวนเฉิงจึงเป็นพู่กันชั้นดีมีคุณภาพ กระทั่งกลายเป็นเครื่องราชบรรณการที่ต้องนำขึ้นถวายพระเจ้าแผ่นดินทุกปี พู่กันที่ถูกเก็บรักษาอยู่ที่ญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีทั้งด้ามที่ทำจากไผ่ลาย ไผ่ลายเหลี่ยมงาช้าง งาช้างทั้งด้าม และด้ามที่ตกแต่งด้วยเพชรพลอย พู่กันสมัยราชวงศ์ถังจึงมีความหลากหลายและงดงามมาก
เนื่องจากพู่กันในสมัยถังมีหัวสั่นและแข็งเกินไป ทำให้อุ้มหมึกได้น้อยจึงแห้งเร็ว จึงเกิดพู่กันขึ้นอีกชนิดหนึ่งมีหัวยาวและอ่อนนุ่มมากขึ้น อันถือเป็นการปฏิวัติการทำพู่กันก็ว่าได้ เพราะมันทำให้เกิดลีลาการเขียนภาพอักษรแบบใหม่ ที่ดูพลิ้วไหว มีอิสระไร้ขีดจำกัดขึ้นในยุคปลายราชวงศ์ถัง
มาถึงในสมัยซ่ง ศิลปะการทำพู่กันเปลี่ยนไปจากเดิมที่สืบทอดกันมาแต่สมัยจิ้น โดยค่อยๆ เริ่มนิยมพู่กันที่มีหัวอ่อนนุ่มขึ้น ปลายพู่กันไม่แหลมนัก และใช้ขนไม่มาก ช่างพู่กันที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้มีหลายคน เช่น จูเก๋อเกา ทายาทจากตระกูลช่างพู่กันในเมืองซวนเฉิง ซูเส้อ หรือ ซูตงปอกวีเอกสมัยนั้นเคยพูดถึงพู่กันจากช่างคนนี้ว่า “มีแต่ (พู่กัน) ของจูเก๋อเกาเท่านั้นที่ดี คนอื่นๆ ทำเลียนแบบก็เรียนได้แต่รูป หาได้เคล็ดลับ (การทำพู่กัน) ไม่ ซึ่งกลับสู่พู่กันธรรมดามิได้ เปรียบเหมือนการเริ่มเรียนกวีนิพนธ์ของตู้ฝู่ ที่มักได้แต่ความหยาบและง่ายมาเท่านั้น”
ช่างพู่กันอีกคนที่ได้รับการเล่าขานจากกวีเอกซูตงปอ คือ เฉิงอี้ ซูตงปอชมพู่กันของเค้าว่า ทำได้สวยงามประณีตและคงแบบอย่างของคนโบราณไว้ ทำให้เขียนหนังสือได้พลิ้วและเบามือ
หวงถิงเจียนกวีดังอีกคนในสมัยซ่ง เขียนถึงลวิเต้าหยวนช่างพู่กันผู้พัฒนาวิธีการทำพู่กันเสียใหม่ ไว้ใน “ซานกู่ปี่ซัว” ว่า “ลวิต้เต้าหยวนคนเมืองอี้โจว (ในมณฑลอันฮุย) รู้วิธีทำพู่กันจากเหยวจ้งเจียง เคยทำพู่กันให้เรากว่าสิบด้าม ไม่มีด้ามไหนเลยที่ไม่ถูกใจ” และหวงถิงเจียนยังพูดถึงลวิเต้าเหยินช่างพู่กันผู้เอาข้อเด่นของพู่กันเมือง ซวนโจวมา
สร้างสรรค์ค์ใหม่ว่า “ลวิเต้าเหยินคนเมืองเส้อโจว ไม่ได้ทำพู่กันเป็นอาชีพเพราะยากจน เค้าจึงทำพู่กันได้ดี”
ในสมัยหนานซ่งมีช่างพู่กันชื่อ วังป๋อลี่ ทำพู่กันมีชื่อเสียงโด่งดัง เจ้าเมืองฮุยโจวได้นำพู่กันของวังป๋อลี่ขึ้นถวายพระเจ้าหลี่จง พร้อมกับกระดาษจากร้านเฉิงซินถัง หมึกของหลี่ถิง และจานหมึกจากเมืองหยางโถหลิ่ง โดยเรียกรวมกันว่า “ซินอันซื่อเป่า” หรือจตุรพิธสมบัติจากซินอัน
มาถึงสมัยที่มองโกลครองอำนาจในจีนราชวงศ์หยวน พู่กันจากเมืองซวนโจวในมณฑลอันฮุยเริ่มเสื่อมความนิยมลง โดยมีพู่กันจากเมืองหูโจวและเจียซิ่งในมณฑลเจ้อเจียง ขึ้นมาเป็นที่นิยมแทน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะราชวงศ์หนานซ่งซึ่งกำลังถอยหนีการรุกรานจากกองทัพ มองโกล ได้ย้ายศูนย์กลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและศิลปวัฒนธรรมมาอยู่ที่เมืองหางโจว ทำให้กิจการพู่กันที่มีอยู่เดิมในเมืองหูโจวเจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะในตำบลส้านเหลียน
มีเรื่องเล่ากันว่า หลวงจีนจื้อสุ่ยซึ่งเป็นหลานรุ่นที่ 7 ของหวางซี (นักเขียนภาพอักษรที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์สุย) เคยจาริกมาที่ตำบลนี้ และจำวัดอยู่ที่วัดหย่งซินซึ่งอยู่ข้างๆ ศาลบูชาเมิ่งกัวผู้ที่คนจีนนับถือว่าเป็นพู่สร้างพู่กันขึ้นมาคนแรก หลวงจีนจื่อสุ่ยมักพูดคุยเรื่องการทำพู่กันกับช่างทำพู่กันเสมอ เพราะท่านชอบศิลปะการเขียนภาพอักษร เชื่อกันว่าท่านใช้พู่กันไปทั้งสิ้นถึงห้าสิบหีบใหญ่ พู่กันเหล่านั้นถูกเอาไปฝังไว้ในสวนเสี่ยว (ปัจจุบันอยู่แถวท่าเรือเมืองส้านเหลียน) เรียกว่า “สุสานพู่กัน” เมื่อท่านมรณภาพไป ศพของท่านก็ถูกนำมาฝังไว้ข้างๆ สุสานพู่กันแห่งนี้
หลังจากที่มองโกลได้ครอบครองแผ่นดินจีนทั้งหมดและตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมา ก็ได้เกิดช่างพู่กันชื่อดัง ในมณฑลเจ้อเจียงขึ้นอีกหลายคน และเพื่อให้ผู้ปกครองชาวมองโกลพึงพอใจ ช่างเหล่านี้ได้ช่วยกันทำ “พู่กันหลวง” ที่แสนจะวิจิตรประณีตและงดงามขึ้นถวายพระเจ้าแผ่นดิน พู่กันจากเมืองหูโจวจึงมีชื่อเสียงไปทั่วแผ่นดิน
พู่กันจากเมืองหูโจวเรียกว่า “หูปี่” ต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ นั่นคือ ปลายแหลม ขนเรียบ หัวกลมสวย และ แข็งแรง โดยใช้ขนแกะ กระต่าย และอีเห็น มาประดิษฐ์อย่างประณีตถึง 17 ขั้นตอน จึงจะได้พู่กันชั้นดีซักด้าม
มาถึงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง พู่กันที่ใช้กันในวังเรียกว่า “อวี้ปี่” (พู่กันหลวง) และพู่กันที่ใช้ในหน่วยงานราชการ เนื่องจากเป็นพู่กันสำหรับบุคคลสำคัญของบ้านเมือง ดังนั้น จึงต้องมีความประณีตงดงามเป็นพิเศษ ต้องใช้แต่ขนสัตว์ชั้นดีเยี่ยม ขึ้นขนาดมีการไล่สีเป็นชั้นๆ ในส่วนที่เป็นหัวของพู่กัน นอกจากนี้ยังเกิดพู่กันแบบใหม่ๆ เพื่อสนองการเขียนศิลปะลายมือตัวใหญ่เป็นพิเศษ รวมทั้งหัวพู่กันที่ทำยาวมากขึ้น เพื่อให้อุ้มน้ำหมึกได้มากขึ้น ตัวด้ามทำจากไม้ไผ่สลักลวดลาย แท่งหยก งาช้าง ทอง กระเบื้อยงเคลือบ และอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมทั้งตกแต่งลวดลายเช่น มังกร โป๊ยเซียน ค้างคาว เงินกษาปณ์โบราณ ทิวทัศน์ เป็นต้น
ช่างพู่กันฝีมือดีในสมัยราชวงศ์หมิง เช่น ซือเหวินย่ง ชาวอู๋ซิ่งในมณฑลเจ้อเจียง พู่กันที่เค้าทำส่วนมากจะทำไว้ให้ฮ่องเต้และขุนนางผู้ใหญ่ ชื่อ “ซือเหวินย่ง” นี้ก็เป็นชื่อที่พระเจ้าหงลี่พระราชทานให้
ส่วนในสมัยราชวงศ์ชิงก็มีโจวหู่เฉินเป็นช่างพู่กันฝีมือดี ทำจนขยายกิจการไปเปิดสาขาถึงเซี่ยงไฮ้ มีประวัติกว่า 100 ปี หวางย่งชิงเป็นช่างทำพู่กันที่หวงวิชามาก เขาไม่รับศิษย์ และไม่เปิดร้านขาย แต่จะรับทำพู่กันอยู่กับบ้าน
เนื่องจากส่วนหัวของพู่กันนั้นรักษายากและชำรุดง่าย ทำให้เหล่านักสะสมจึงมักจะดูที่การประดับตกแต่งตัวด้ามเสียมากกว่า แต่คนโบราณจะดูที่หัวพู่กันด้วย เพราะหัวพู่กันแบบดังเดิมนั้นมักจะสั้นและใหญ่ รูปร่างคล้ายกับหน่อไม้ หัวพู่กันแบบนี้เวลาแต้มหมึกจรดลงบนกระดาษจะให้น้ำหนักดี ได้ลายเส้นหนา และยังคงทนอีกด้วย หัวพู่กันอีกแบบจะกลมมน ขาวสะอาดและอ่อนนุ่ม รูปร่างคล้ายกับดอกจำปีที่กำลังจะแย้มบาน ให้ความรู้สึกที่งดงามจับตา
แต่ตัวด้ามของพู่กันดูจะเป็นที่สนใจมากกว่า เพราะมักจะประดับด้วยหยกบาง อัญมณีบ้าง อย่างที่ถังปิ่งจวินเขียนไว้ในปี พ.ศ. 2321 ว่า พู่กันสมัยฮั่นมักนิยมประดับด้วยทอง หยก ไข่มุก ตัวด้ามทำจากนอแรดไม่ก้องาช้าง สวยงามยิ่งนัก นี่เองทำให้พู่กันมิได้เป็นแค่เครื่องเขียนอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นงานศิลปะและของเก่าที่น่าสะสมอีกด้วย ตัวอย่างเช่น พู่กันลายหงส์มังกรจากสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังเดิมที่กรุงปักกิ่ง พู่กันเหล่านี้มักมีปลอกสวมหัวพู่กันด้วย และทุกด้ามมีการลงรักเป็นพื้นก่อนเขียนรูปเป็นภูเขา มังกรล่อแก้ว คลื่นทะเลโถมถาใส่โขดชะง่อนหินผา ด้วยลายเส้นเพียงไม่กี่เส้น ก็สามารถแสดงให้เห็นถึงความเวิ้งว้างของท้องทะเลและท้องฟ้า ช่วยขับให้มังกรที่กำลังไล่งับลูกแก้วไปมากลางหู่เมฆด้วยลีลาอันสง่างามดู เด่นขึ้น นอกจากนี้ตัวด้ามและปลอกพู่กันยังเลี่ยมทองให้ดูทรงคุณค่าขึ้น ส่วนหัวพู่กันนั้น สีขนมันวาว กลมและแข็งแรง มีรูปร่างคล้ายลิ่ม มีคุณสมบัติครบถ้วนคือ แหลม เรียบ กลม และแข็งแรง ถือเป็นของล้ำค่าที่เป็นหลักฐานยืนยันมาตรฐานการทำพู่กันในสมัยหมิงได้เป็น อย่างดี