เล่าปี่กวนอูเตียวหุยออกศึก

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (25)

เล่าปี่กวนอูเตียวหุยออกศึก
เล่าปี่กวนอูเตียวหุยออกศึก

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (25) : ชัยชนะครั้งแรกของเล่าปี่กับกลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจก ตำรา 36 กลยุทธ์ ได้กล่าวไว้ในบทที่ 18 เรื่องการจับโจรเอาหัวโจก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจกของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก “มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง” เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน “คัมภีร์อี้จิง ดิน” ซึ่งแฝงความนัยว่า “จับโจรให้เอาตัวหัวโจก” อันเป็นกลอุบายใช้วิธี “ตีงูให้ตีหัว” เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง “จับโจรเอาหัวโจก” มาจากบทกวีของตู้ผู่ กวีอมตะแห่งอุคราชวงศ์ถังของจีน ความว่า “น้าวเกาทัณฑ์ต้องให้ตึง ลูกเกาทัณฑ์ควรจะยาว ยิงคนควรยิงม้า จับโจรเอาหัวโจก”

ในช่วงต้นของสามก๊ก เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลืองมากมาย เกินกว่าที่ทางการจะรับได้ ราชสำนักฮั่นส่งกองทัพหลวงมาปราบ พร้อมประกาศให้ชาวบ้านจัดตั้งกองกำลังเพื่อช่วยอีกแรง “ เล่าปี่ ” เป็นชาวเมืองตุ้นก้วน ร่วมกับน้องสาบาน “ กวนอู ” และ “ เตียวหุย ” จัดตั้งกองกำลังอาสาสมัครเพื่อต่อสู้กับโจรโพกผ้าเหลืองอย่างกล้าหาญ หลังจากนั้นเล่าปี่จึง คุมชาวบ้านที่มีฝีมือกล้าแข็งห้าร้อยคน มาสมัครกับเจาเจ้งและเล่าเอี๋ยน พอถามชื่อแซ่แล้วเห็นว่าเล่าปี่แซ่เดียวกันก็ยินดี เล่าเอี๋ยนจึงรับไว้เป็นหลานชาย

ทางอเมริกาคิดว่าไม่มีใครโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ด้วยตอปิโดด้วยใต้น้ำได้เพราะ ว่าเพิร์ลฮาเบอร์ตื้นเกินกว่าที่จะใช้ตอปิโด และมีตาข่ายเหล็กขึงกันไว้รอบๆเกาะๆ แต่ทางญี่ปุ่นก็ได้พัฒนาอาวุธตอปิโดให้ลอยน้ำได้ และได้ตัดสินใจจะใช้หน่วยรบพิเศษคามิคาเซ่ในการปฏิการครั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย

ต่อจากนั้นอีกหลายวันได้ข่าวว่า เทียอ้วนจี้ นายโจรคนหนึ่งคุมพลพรรคประมาณห้าหมื่นยกมาใกล้แดนเมืองตุ้นก้วน เล่าเอี๋ยนจึงให้สามพี่น้องยกออกไปป้องกันไว้ ทั้งสามนำพลห้าร้อยของตนมาถึงเขาไทเหียงสัน ก็เจอกับพวกโจร เตียวหุยก็รำทวนแทง เตงเมา รองหัวหน้าโจรตายเป็นประเดิม เทียอ้วนจี้จะออกไปรบแก้มือแต่พอเจอหน้าอันแปลกประหลาดของกวนอูเข้าก็ตกใจ ชะงักอยู่ เลยถูกกวนอูฟันด้วยง้าวคู่มือ ตัวขาดเป็นสองท่อน พวกเมื่อพวกโจรเห็นหัวหน้าถูกฆ่าทำให้เสียขวัญ เล่าปี่ฉวยโอกาสเข้าโจมตีจนกองทัพโจรโพกผ้าเหลืองแตกทัพกระจัดกระจายไปสิ้น ทั้ง ๆ ที่มีจำนวนมากกว่าถึงร้อยเท่า

ดังนั้นกลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ความหมายที่แท้ของกลยุทธ์นี้ คือให้โจมตีส่วนที่สำคัญที่สุดของข้าศึก เพื่อไห้ได้รับชัยชนะอย่างสิ้นเชิง ในการบัญชาการรบ จะต้องสันทัดในการขยายผลของการรบให้ใหญ่หลวงยิ่งขึ้น อย่าได้ปล่อยโอกาสที่จะได้รับชัยชนะให้หลุดลอยไปเป็นอันขาด หากคิดง่ายๆแต่เพียงว่า ขอให้โจมตีข้าศึกถอยไปได้เท่านั้นก็พอใจแล้ว แต่ไม่ทำลายกำลังหลักของข้าศึก จับตัวผู้บัญชาการหรือทลายกองบัญชาการของข้าศึกให้ย่อยยับไปแล้ว ก็จะเหมือนดั่งปล่อยเสือเข้าป่า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *