จานหมึก

4 สุดยอดสมบัติจีน (5)

จานหมึก
จานหมึก

4 สุดยอดสมบัติจีน (4) จานหมึก จานหมึกอาจเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่เราไม่ค่อยคุยเคยกันนัก และอาจทำให้เราคิดว่าคงมีลักษณะคล้ายกับจานสีของฝรั่ง แท้จริงแล้วจานหมึกของจีนมีความแตกต่างกับจานสีของฝรั่งมาก มีหลักฐานยืนยันว่าคนจีนเริ่มจานหมึกกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน หลิวซีเขียนไว้ในหนังสือชื่อ “ซื่อหมิง” ว่า “จานหินเรียบมันเรียกว่า เยี่ยน ใช้ฝนหมึกและหยดน้ำ” จานหินเรียบมันที่กล่าวถึงนี้คือจานหมึกนั่นเอง

ข้อมูลทางด้านโบราณคดีบอกเราว่า จานหินเรียบมันที่ว่านี้ น่าจะค่อยๆ วิวัฒนาการมากจาโม่หินในสมัยยุคหินใหม่ โม่หินและแกนโม่ที่ขุดพบในเมืองซีอัน มีอายุราวๆ 7000 ปีนั้น ยังคงมีรอยสีที่ถูกบดให้เห็นติดอยู่ และยังมีการขุดพบภาชนะผสมสีในสุสานทั้งที่เมืองอันหยางและเมืองลั่วหยาง นี่แสดงให้เห็นว่าโม่หินและภาชนะผสมสีเหล่านี้น่าจะเป็นต้นกำเนิดของจานหมก ในยุคต่อมา หลักฐานเหล่านี้ยืนยันได้ว่าจานหมึกจีนน่าจะมีอายุเก่าแก่พอๆ กับพู่กัน หมึก และกระดาษแน่นอน

จานหมึกในยุคแรกๆ ของจีนทำจากหิน จานหมึกในสมัยจั๋นกั๋วหรือยุค Warring states ที่ขุดพบในสุสานของฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) เมื่อปี พ.ศ.2518 ทำจากหินกรวดขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายไข่ห่าน ส่วนหมึกได้จากแร่ธาตุธรรมชาติ และการฝนหมึกก็ยังต้องใช้สากบดหมึกให้ละเอียด สากบดหมึกอยู่คู่กับจานหมึกมาจนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นจึงหมดบทบาทไป เพราะมีการทำหมึกแท่งที่สามารถใช้ฝนกับจานหมึกได้เลย ดูจากส่วนนี้แล้วคนจีนน่าจะใช้สากบดหมึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซาง รวมเวลากว่า 3000 ปี จนค่อยๆหมดบทบาทไปละไม่มีใช้แล้วในปัจจุบัน

จานหมึกสมัยราชวงศ์ฮั่นได้พัฒนากรรมวิธีการทำไปอย่างเห็นได้ชัด เกิดมีจานหมึกที่ทำจากวัสดุหลายๆ ชนิดขึ้น เช่น หิน ดินเผา สำริด กระเบื้อง เป็นต้น จานหมึกดินเผาโบราณที่มีชื่อเสียงคือ จานหมึก “เฉิงหนี” ในสมัยราชวงศ์ถัง จานหมึกชนิดนี้มีวิธีการทำที่แปลกมาก ก่อนอื่นต้องถ่วงถุงผ้าแพรไว้ที่ก้นแม่น้ำเฝินซึ่งอยู่ในมณฑลซานซี เป็นเวลาหนึ่งปี จึงนำถึงขึ้นจากแม่น้ำ เพื่อเอาดินทรายที่น้ำพัดเข้ามาในถุงใช้ทำจานหมึกดินเผา

ในสมัยราชวงศ์ฮั่นเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น มักนิยมจานหมึกหินที่มี 3 ขา แต่ละขาจะสลักลวดลายรูปเท้าสัตว์เอาไว้ นอกจากนี้ยังมีจานหมึกรูปเต่าบ้าง รูปภูเขาบ้าง มาในสมัยราชวงศ์ฝ่ายเหนือ (เป่ยเฉา) กลับนิยมจานหมึกที่มี 4 ขา แกะสลักลวดลายง่ายๆ เรียบๆ ดูมีชีวิตชีวา

ในสมัยราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้นได้มีการทำจานหมึกกระเบื้องดินเผากันแล้ว โดยไม่เคลือบตรงส่วนของก้นจานเพื่อให้ใช้ฝนหมึกได้ดี มักทำเป็นรูปกลมแบนมีขา จีนเริ่มมีจานหมึกกระเบื้องเคลือบใช้กันในสมัยหนานเป่ยฉาว ซึ่งเป็นช่วงที่จีนแบ่งแยกเป็นราชวงศ์เหนือกับราชวงศ์ใต้ โดยเป็นจานหมึกกระเบื้องสีครามมีรูปร่างคล้ายบุ้งกี๋ที่ด้านหนึ่งกลมและมี 2 ขา เป็นแม่แบบจานหมึกรูปบุ้งกี๋ที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ถังด้วย

เนื่องจากนับแต่สมัยราชวงศ์สุยเป็นต้นมา หมึกจีนได้รับการพัฒนาไปมากจนเนื้อหมึกมีคุณภาพดีขึ้นจนไม่ต้องใช้บดกับหิน อีก ปัญญาชนจีนจึงมีความต้องการที่จะได้จานหมึกที่มีคุณภาพดีขึ้นเพื่อนำมาใช้ กับหมึกที่ว่านี้ ดังนั้น เนื้อและรูปร่างของจานหมึกในสมัยราชวงศ์ถังจึงได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก จานหมึกรูปบุ้งกี๋ รูปเต่า จึงกลายเป็นสิ่งที่ปัญญาชนจีนนิยมกันมาก

มาในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีจานหมึกกระเบื้องเคลือบลายครามและสีเขียวใบไม้ จานหมึกกลายเป็นน้ำพุมังกร และจานหมึกที่มีหลุมใส่หมึก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจานหมึกที่ทำจากกระเบื้องของวังหลวงในสมัยราชวงศ์ฮั่น

จานหมึกได้กลายเป็นของรักของหวงสำหรับขุนนางละปัญญาชนของจีนในสมัยโบราณ จนได้ชื่อใหม่อีกหลายชื่อเช่น สือซวีจง (หินอ่อนน้อม) จี๋โม่โหว (เสนาบดีผู้ให้หมึก) ว่านสือจวิน (ท่านหมื่นหิน) สือเซียงโหว (เสนาบดีแห่งบ้านหิน) เที่ยเมี่ยนซ่างซู (ราชเลขาฯ ผู้เที่ยงธรรม) เป็นต้น

ปัญญาชนจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง จะนิยมใช้จานหมึกที่ทำจากหินกันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะจานหมึกหินคุณภาพดีจากตำบลต้วนซี อำเภอเกาเอี้ยว มณฑลกวางตุ้ง จานหมึกชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ปัญญาชนและจิตรกรในนามของ “ต้วนเยี่ยน” จานหมึกหินคุณภาพดีอีกชนิดหนึ่งเป็นจานหมึกที่ทำกันอยู่ใน อำเภอเส้อ มณฑลอันฮุย เรียกกันว่า “เส้อเยี่ยน” ซึ่งมีชื่อเสียงไม่แพ้ชนิดแรก จานหมึกที่นิยมใช้กันในสมัยนั้นคือ จานหมึกที่คว้านหลังจานให้โหว่ ทำให้เคลื่อนย้ายสะดวก และมีน้ำหนักเบา วางแล้วไม่โคลงเคลง จานหมึกหินได้ค่อยๆ เข้ามาเป็นที่นิยมแทนจานหมึกดินเผา จะมีก็แต่จานหมึกดินเผา “เฉิงหนี” เท่านั้นที่ยังได้รับความนิยมอยู่เช่นเดิม จานหมึกสมัยซ่งจะดูสวยแบบเรียบๆ และใช้งานได้ทนทาน ซึ่งดูดีกว่าจานหมึกสมัยราชวงศ์หยวน เพราะจานหมึกสมัยหยวนจะดูหยาบกว่าแต่ก็เรียบง่ายเป็นธรรมชาติ

จานหมึก
จานหมึก

ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงค์ชิง ปัญญาชนจีนเริ่มไม่นิยมจานหมึกหินลายใยสีแดงจากมณฑลซานตง แต่กลับไปนิยมจานหมึกหินชนิด “ต้วนเยี่ยน” และ”เส้อเยี่ยน” เช่นเดียวกับสมัยซ่ง หากแต่จานหมึกสมัยนี้จะต้องใช้หินเนื้อดี พอถีพอถันเรื่องรูปทรง มีการแกะสลักอย่างสวยงาม และต้องมีคำกวีนิพนธ์ หรือคำจารึกจากกวีคนดังสลักไว้บนจานหมึกด้วย กระทั่งกล่องใส่จานหมึกก็ต้องมีการประดับตกแต่งให้สวยงาม ทำให้เกิดช่างทำจานหมึกฝีมือดีขึ้นหลายคน เช่น กู้เอ้อเหนียง วังฟู่ชิ่ง เป็นต้น เนื่องจากการคัดเลือกใช้แต่หินเนื้อดี รูปทรงหลากหลายแบบ และความวิจิตรงดงาม ทำให้จานหมึกในสมัยนี้ทรงคุณค่าการใช้สอยจริง โดยมีคุณค่าทางศิลปะที่ล้ำค่า ทำให้จานหมึกจากสมัยนี้เป็นของสะสมของเหล่าขุนนางและปัญญาชนอย่างแพร่หลาย

ช่วงปลายสมัยราชวงศ์หมิง ช่างทำจานหมึกต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสลักลวดลายที่ละเอียดและประณีตบนตัวจานหมึ
กกันมากขึ้น ทำให้เกิดจานหมึกประเภทนี้ขึ้นไม่น้อย รูปทรงของจานหมึกก็หลากหลายขึ้นด้วย แต่ยังคงรูปทรงของสมัยราชวงศ์สุยไว้เป็นสำคัญ แต่รูปทรงอื่นๆ ก็มี เช่น แปดเหลี่ยม ปล้องไผ่ ใบบัว ใบตอง แอ่งเว้า และรูปกาน้ำ เป็นต้น

ขุนนาง ปัญญาชน จิตรกร และผู้รักนิยมในจตุรพิธสมบัติ ยังพิถีพิถันกับเรื่องสีสัน ลวดลาย เสียง ความนุ่มลื่น ตลอดจนปีที่ทำ หินที่ใช้ และคำจารึกบนตัวจานหมึก คุณสมบัติเหล่านี้ต้องเพียบพร้อมครบถ้วน จึงจะถือว่าเป็น “สมบัติ” จริงๆ นี่เองทำให้จานหมึกกลายเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนที่ต้องมีอยู่บนโต๊ะทำงานของ เหล่าขุน
นาง ปัญญาชน และศิลปินทั้งหลายอย่างขาดมิได้ ทั้งยังกลายเป็นผลงานศิลปกรรมที่เหล่านักสะสมนิยมสะสมอีกด้วย

ความรุ่งเรื่องในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อ ทำให้จานหมึกพลอยได้รับการพัฒนาด้วยวัสดุที่หลากหลายมากขึ้น แม้ว่าจานหมึกหินหรือดินเผาจะยังเป็นที่นิยมมากที่สุด แต่ก็เกิดจานหมึกที่ทำจากหยกทั้งก้อน หยกผสมหิน ทราย และเหล็กไม่ต่ำกว่าสิบชนิด

และเนื่องจากเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน และขุนนางผู้ใหญ่ในราชวงศ์ชิง ต่างผูกพันกับดินแดนแมนจูซึ่งเป็นบ้านเกิดของตน จึงมีการสนับสนุนจานหมึกหิน “ซงฮัว” จากแถบแม่น้ำหุนถง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจานหมึกหลวง

แต่จานหมึกจากแหล่งอื่นก็ยังเป็นที่นิยมกันทั่วไป เช่น จานหมึกด้วนเยี่ยนจากมณฑลกวางตุ้ง จานหมึกเส้อเยี่ยนจากมณฑลอันฮุย จานหมึกหินลายในสีแดงจากมณฑลซานตง และจานหมึกเถาสือจากมณฑลกานซู เพราะจานหมึกเหล่านี้ใช้วัสดุที่แข็งแรง เนื้อเนียนละเอียดลื่น และฝนหมึกได้ดี ทั้งยังมีลวดลายสวยงาม โดยเฉพาะจานหมึกเฉิงหนีที่ใช้ถุงผ้าแพรดักเก็บดินจากแม่น้ำเฝิน นำมาตั้งทอ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นเผาให้แข็งเป็นก้อนก่อนที่จะนำมาแกะสลักขึ้นรูปเป็นจานหมึก จึงเป็นจานหมึกเนื้อดีและแข็งดุจหิน

จานหมึกจีนมีด้วยกันหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะจำแนกกันตามเนื้อวัสดุ หรือตามรูปทรงการตกแต่งก็ตาม หากแต่จานหมึกที่มีชื่อเสียงและดีที่สุดนั้น เห็นจะมีแค่สองชนิดเท่านั้น คือ จานหมึกต้วนเยี่ยน กับจานหมึกเส้อเยี่ยน

จานหมึกต้วนเยี่ยน จากหลักฐานทางโบราณคดีบอกเราว่า คนจีนเริ่มทำจานหมึกชนิดนี้กันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าถังเกาจง (หลี่หยวน) แห่งราชวงศ์ถัง หรือราวๆ พ.ศ.1161-1169 และมีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ตวนซีเยี่ยนสื่อ” (ประวัติจานหมึกเมืองตวนซี) เขียนชมจานหมึกชนิดนี้ไว้ว่า “มีน้ำหนักดีแต่เบา เนื้อแข็งแต่ก็นุ่มเนียน ฝนหมึกเงียบแต่ไม่มีเสียง กดแล้วเหมือนกดลงบนผิวเด็ก นุ่มนิ่มอบอุ่นและไม่ลื่น”

คนจีนถือว่าจานหมึกชนิดนี้ดีที่สุด แต่มันก็มีคุณภาพลดหลั่นลงมาตามคุณภาพของเนื้อหินที่นำมาใช้ มีต้นกำเนิดจากเมืองเล็กๆ ชื่อเกาเอี้ยว ซึ่งก่อนสมัยราชวงศ์ถังเมืองนี้ขึ้นอยู่กับเมืองตวนโจว (ซึ่งปัจจุบันคือเมืองเจ้าชิ่ง มณฑลกวางตุ้ง) เมืองนี้มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ ฝู่เคอซาน เชิงเขาลูกนี้ในเขตพื้นที่น้ำขึ้นท่วมถึง ตรงบริเวณที่ห่างจากแม่น้ำไป 2 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศจะค่อยๆ เป็นเนินสูงขึ้น ตรงบริเวณแถวนี้แหละ ที่เป็นแหล่งหินสำหรับใช้ทำจานหมึก โดยถ้ำหินที่อยู่ล่างสุดที่มีน้ำท่วมตลอดทั้งปีคือแหล่งที่มีหินคุณภาพดีที่ สุด

ในสมัยโบราณการนำหินออกมาจากถ้ำที่จมอยู่ใต้น้ำนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรอให้น้ำในแม่น้ำลดต่ำสุดในทุกปี ซึ่งตกราวๆ ช่วงต้นฤดูหนาว ถึงจะลงไปในถ้ำได้ โดยต้องใช้คนถึง 70 คนนั่งร้านเรียงต่อๆ กัน ถึงจะลงไปยังถ้ำได้ และใช้ภาชนะตักน้ำขึ้นมาเป็นทอดๆ เพื่อวิดน้ำ ใช้เวลาราวๆ เดือนเศษ น้ำในถ้ำจึงจะแห้งขอด แล้วถึงจะสามารถเข้าไปเอาหินในถ้ำได้ พอปีหน้าน้ำก็จะขึ้นมาท่วมอีก หากแต่หินในถ้ำแห่งนี้ได้หมดไปตั้งนานแล้วตั้งแต่สมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง แม้จะมีการบุกเบิกหลุมใหม่สำหรับขุดหิน หรือเอาหินจากถ้ำที่อยู่สูงขึ้นไป แต่ก็ไม่สามารถหาหินคุณภาพดีเช่นนั้นได้อีกแล้ว

จุดเด่นของจานหมึกชนิดนี้คือไม่ทำให้ขนพู่กันเสียหายและยังฝนหมึกได้ง่าย นอกจากนี้แล้วยังมีลายเส้นงดงาม ที่ขึ้นชื่อลือชาก็ได้แก่ ลายหัวปลา ลายใบกล้วย ลายดอกไม้ ลายลูกไฟ ลายน้ำแข็ง เป็นต้น

จุดเด่นอีกอย่างคือ มีหลุม เชื่อกันว่าหินอ่อน (หินอายุน้อย) จะมีหลุมมาก หินแก่จะมีหลุมน้อย และทำให้มีการคัดคุณภาพจานหมึกกันจากลักษณะหลุม ดีที่สุดคือหลุมที่น้ำถ่ายเทได้ ความจริงแล้ว หลุมที่ว่านี้เป็นแค่ลายหินที่ทำให้ดูสวยขึ้นเท่านั้น ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพหินแต่อย่างใด ดีไม่ดีถ้าเกิดมีหลุมในตำแหน่งที่ไม่ควรมีทำให้ฝนหมึกยาก ก็กลายเป็นว่าไม่ดีไปเสียอีก

เรื่องสีของตัวจานหมึกเองก็สำคัญเพราะเชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับคุณภาพด้วย จานหมึกต้วนเยี่ยนมีสีม่วงแก่ สีนิล และสีขาว (เทา) ที่ดีที่สุดคือจานหมึกสีขาว และที่แย่ที่สุดคือสีม่วง

อันที่จริง จานหมึกต้วนเยี่ยนนี้เริ่มแรกเดิมทีก็ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ โดยไม่มีการสลักตกแต่งลวดลายอันใดทั้งสิ้น ตัวจานจึงดูธรรมดามากและออกจะหยาบไปด้วยซ้ำ หลี่เจ้าคนในสมัยราชวงศ์ถังเขียนไว้ใน “ถังกั๋วสื่อปู่” ว่า “จานหมึกสีม่วงจากเมืองตวนโจว ใช้กันทั่วแผ่นดินไม่ว่ายากดีมีจน”

การพัฒนาฝีมือและรูปทรงให้ประณีตสวยงามขึ้นมาเริ่มหลังจากที่มีเรื่องเล่า กันว่า ช่างทำจานหมึกเฒ่าผู้หนึ่งเดินทางผ่านแม่น้ำตวนซี เห็นกระเรียนสองตัวตกลงไปในน้ำ เค้าจึงเหวี่ยงแหออกไปหวังจะจับนกทั้งสองตัวนี้ แต่กลับได้หินประหลาดที่มีร่องแตกขึ้นมาก้อนหนึ่ง และดูเหมือนจะมีเสียงนกกระเรียนร้องดังออกมาจากข้างใน เค้าจึงพยายามแงะเข้าไปในร่องหิน จนหินแตกออกมาเป็นสองก้อน และกลายเป็นจานหมึกสองอัน แต่ละอันมีรูปกระเรียนเกาะบนต้นสน พอข่าวนี้แพร่ออกไปพวกช่างทำจานหมึกรายอื่นๆ ก็เลยพากันเอาอย่าง จนกลายเป็นการแกะสลักลวดลายต่างๆ เช่น ภูเขา สายน้ำ รูปคน ดอกไม้ใบหญ้า นกและสัตว์ต่างๆ เป็นต้น จนจางจิ่วเฉิงกวีชื่อดังในสมัยราชวงศ์ซ่งถึงกับเขียนชมลวดลายบนจานหมึกมา แล้วว่า

“จานหมึกต้วนวีนี้อัศจรรย์ ลายม่วงมันประกายรุ้งยามราตรี”

จานหมึกต้วนเยี่ยนที่มีประวัติมานานกว่า 1300 ปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาในช่วงกลางราชวงศ์ถัง ได้เริ่มพัฒนาการทำจานหมึกชนิดนี้ให้มีคุณค่าทางศิลปะเพิ่มขึ้น จนกระทั่งมาถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ก็เกิดมีการทำจานหมึกต้วนเยี่ยนในหลากหลายรูปแบบ ครั้นมาถึงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง การทำจานหมึกชนิดนี้ได้พัฒนามาจนถึงขั้นสูงสุด เป็นงานฝีมืออันประณีตยิ่ง และเกิดรูปทรงต่างๆ หลากหลาย เช่น รูปไข่ ขวาน ระฆัง พิณโบราณ ส่วนลวดลายก็มักจะทำเรียนแบบของโบราณ และเพิ่มลวดลายอื่นๆ เช่น ภูเขาสายน้ำ หญิงสาว สิงสาราสัตว์ ดอกไม้ เป็นต้น ทำให้จานหมึกต้วนเยี่ยนค่อยๆกลายเป็นงานประดิษฐ์กรรมทางศิลปะที่มีเอกลักษณ์ จนเจ้าเมืองจะต้องนำขึ้นถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้าแผ่นดินมาตลอด ทุกยุคทุ
กสมัย เรียกกันว่า หวงเยี่ยน หรือหินหลวง

การที่จานหมึกชนิดนี้มีชื่อเสียงดีและราคาแพง นอกจากใช้หินธรรมชาติเนื้อดี คือ อ่อนนุ่ม บริสุทธิ์ เนียนละเอียด ชุ่มชื่น แข็งแรง และเนื้อแน่นแล้ว ยังมีเรื่องของฝีมือการทำที่ละเอียดประณีตด้วย กรรมวิธีการทำก็ละเอียดทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลือกหิน ตัดหิน ขนส่ง คัดหิน ขึ้นรูป สลัก ฝนกลึง ชะล้าง และประดับตกแต่ง กว่าจะได้ผลงานที่ยอกเยี่ยมสักชิ้น ต้องผ่านขั้นตอนการทำงานถึงกว่าสิบขั้นตอน ว่ากันว่าพอทำเสร็จเป็นจานหมึกแล้ว จะมีคุณสมบัติพิเศษคือ แค่เป่าลมลมหายใจรดใส่จานหมึกก็สามารถฝนหมึกได้แล้ว

จานหมึกตวนเยี่ยนที่มีชื่อเสียง เช่น จานหมึกที่มีชื่อว่า “เชียนจินโหวหวางเยี่ยน” (พระยาวานรทองพันชั่ง) ถือว่าเป็นจานหมึกโบราณหนึ่งในสี่อันที่มีอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง อีกใบที่มีชื่อเสียงคือ “จินมาวอวี้เตี๋ยเยี่ยน” (แมวทองผีเสื้อหยก)

หลักการเลือกจานหมึกตวนเยี่ยนชั้นดีนั้น เวลาใช้ฝ่ามือแนบลงไปบริเวณส่วนที่ใช้ฝนหมึก จะติดสีหมึกเขียวคราม และรู้สึกเหมือนมีไอน้ำอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าอากาศจะร้อนจัดหรือหนาวเหน็บก็ตาม

จานหมึกตวนเยี่ยนที่ดีท่สุด คือจานหมึกที่ทำจากหินในบ่อเก่า หรือที่เรียกว่า “เหล่าเคิง” จัดว่าเป็นหินเนื้อดีที่สุด เนื้อหินมีสีม่วงแกมนิล เนื้อหินหนาและบริสุทธิ์ เวลาเคาะจะมีเสียงเหมือนเคาะไม้ จานหมึกที่ทำจากหินเนื้อดีชนิดนี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษคือ แม้ในฤดูหนาว น้ำหมึกในจานก็จะไม่เหือดแห้งเหมือนจานหมึกชนิดอื่น ประกอบกับมีลวดลายหินที่สวยงาม เช่น ลายใบตองอ่อน ลายกุหลาบ สีเขียวหยก ลายเส้นเงินทอง เป็นต้น โดยเฉพาะลายใบตองอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบตองอ่อนเริ่มผลิบาน แลดูสวยงามน่าอัศจรรย์ยิ่ง และถ้าเป็นจานหมึกที่มีหลุมหรือมีตาด้วย ก็ยิ่งล้ำค่าหายากนัก ถือเป็น “สมบัติ” อันแท้จริง และสุดยอดจานหมึกล้ำค่าที่แท้จริงคือ จานหมึกตานกขุนทอง ที่เรียกว่า ตานกขุนทองนี้หมายถึงจุดกลมที่มีลายสีขาว แดง และเหลืองอยู่ด้านบน จานหมึกบางอันมีลายที่ว่านี้ซ้อนกันหลายเส้น ดูไปเหมือนตาสัตว์ ความมีค่าอีกอย่างคือ การมีคำจารึกของบุคคลที่มีชื่อเสียงสลักอยู่บนจานหมึก แม้กระทั่งของเรียนแบบก็มี เรื่องราคา ไม่ต้องพูดถึง รับรองว่าเราๆ ท่านๆ ไม่กล้าหยิบมาเชยชมแน่นอน

ในปี พ.ศ.2536 มีการประมูลจานหมึกต้วนเยี่ยนที่ทำจากหินบ่อเก่าคู่หนึ่ง ที่มีลายสลักเป็นรูปต้นสนและมีหลุมที่กล่าวมานี้ ขนาดยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ถูกประมูลไปในราคาถึง 368000 เหรียญฮ่องกง หรือราวๆ 2000000 บาทเลยทีเดียว

จานหมึกเส้อเยี่ยน เป็นจานหมึกอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่กับจานหมึกต้วนเยี่ยน ว่ากันว่าจานหมึกต้วนเยี่ยนใช้กันมาทุกยุค ทุกสมัย แต่พอมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าหลีโหวจู่ (หลี่วี่ ราวๆ พ.ศ.1506-1518) เริ่มขาดแคลนหินจากแม่น้ำตวนซีที่จะนำมาใช้ทำจานหมึก จึงเริ่มมีการใช้จานหมึกเส้อเยี่ยนที่ผลิตจากเมืองเส้อโจว (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอวู่หยวน มณฑลอันฮุย) แทน และชื่อของเมืองนี้ก็เป็นที่มาของชื่อจานหมึกชนิดนี้ด้วย

ความจริงแล้ว จานหมึกชนิดนนี้มีใช้กันมาก่อนรัชสมัยของพระเจ้าหลีจู่เสียอีก โดยเริ่มปรากฏชื่อจานหมึกชนิดนี้ในสมัยราชวงศ์ถัง สถานที่อันเป็นแหล่งวัตถุดิบอันเป็นแหล่งที่จะนำมาใช้ทำจานหมึกชนิดนี้อยู่ ในอำเภอต่
างๆ ของเมืองเส้อโจว เช่น อำเภอเส้อ อำเภอซิวหนิง อำเภอฉีเหมิน อำเภออี และอำเภอวู่หยวน โดยที่อำเภอสุดท้ายเป็นแหล่งวัดุดิบที่มีคุณภาพดีที่สุด แต่การขุดหาวัดถุดิบเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ขุดบ้างไม่ขุดบ้าง เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ

หงจิ่งป๋อในสมัยราชวงศ์ซ่ง เขียนเล่าความเป็นมาไว้ใน “เส้อเยี่ยนผู่” ว่า “ในสมัยพระเจ้าเสวียนจงแห่งราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1256-1285) มีนายพรานคนหนึ่งหาไล่ล่าสัตว์มาจนถึงบริเวณที่เรียกว่า ฉางเฉิงหลี่ พลันเห็นหินที่อยู่ในลำธารเรียงซ้อนทับกันประดุจกำแพงเมือง หินแต่ละก้อนเกลี้ยงเกาประดุจหยก จึงนำกลับมาทำจานหมึก”

หลิ่วกงฉวน นักเขียนภาพอักษรที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยพระเจ้าเสี้ยนจง (พ.ศ.1349-1364) ได้จัดจานหมึกทั้งสี่ชนิดคือ ตวนเยี่ยน เส้อเยี่ยน เถาเยี่ยน และเฉิงหนี เป็นจานหมึกสำคัญของจีน จนปัญญาชนในรัชสมัยพระเจาอี้จงแห่งราชวงค์ถัง (พ.ศ.1403-1417) อย่างหลี่ซานฝู่ ถึงกับเขียนบทกลอนชมจานหมึกเส้อเยี่ยนไว้ว่า

“เที่ยวขุดหาศิลางามเชิงดอยนั้น
ก้อนเท่าคันทัพพีกลมเหลี่ยมสวย
รักน้ำหมึกจึงสร้างปัญญารวย
จะใช้ฉวยทุกคราพึงเจียมใจ
มีลวดลานคล้ายคลื่นครือครือซัด
จงหมั่นปัดละอองฝุ่นให้ผ่องใส
จะพินิจพิศมองเชิญตามใจ
แปลกไฉนมีค่าดังพันทอง”

จากบทกลอนนี้เป็นหลักฐานอีกชิ้นที่บ่งบอกว่า จานหมึกเส้อเยี่ยนในฐานะที่เป็นงานศิลปหัตถกรรมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังแล้ว หากแต่เริ่มน้ำขึ้นถวายให้พระเจ้าแผ่นดินในสมัยกันในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ถัง
ความเป็นมาที่ทำให้จานหมึกเส้อเยี่ยนเป็นที่รู้จักกันในหมู่ขุนนาง ปัญญาชน และศิลปินจีน มีบันทึกอยู่ใน “ชิงอี้ลู่” ว่าในปีไคผงศกที่ 2 (พ.ศ. 1451) พระเจ้าต้าจู่แห่งราชวงศ์เหลียง (จูเวิน) ได้ให้กิ่งไผ่เป่าเซียงแก่เสนาบดีจางเหวินเว่ยและหยางเส้อคนละ 20 กิ่ง และจานหมึกหลงหลินเยว่อีกคนละ 1 ชิ้น กิ่งไผ่เป่าเซียง ก็คือกิ่งไผ่ลายม่วงที่ไว้สำหรับทำด้ามพู่กัน ส่วนจานหมึกหลงหลินเยว่ คือจานหมึกที่มีลายคล้ายกับเกล็ดมังกรและมีรูปทรงเป็นรูปเดือน ทำจากเมืองเส้อโจว พระเจ้าหลีจู่ (หลี่วี่) เห็นจานหมึกเส้อเยี่ยนถึงกับออกปากชมว่า “นับเป็นสุดยอดในแผ่นดิน” พระองค์จึงให้จัดตั้งกองงานจานหมึกขึ้นที่เมืองเส้อโจวขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้หลี่เส้าเป็นเจ้าพนักงานจานหมึก และส่งโจวฉวยจือช่างหลวงงานศิลามาเก็บรวบรวมหินเนื้อดีเพื่อทำจานหมึกให้แก่ ทางราชสำ
นักโดยเฉพาะ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินให้ความสำคัญถึงขนาดนี้ จึงทำให้อาชีพช่างทำจานหมึกในเมืองเส้อโจวเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก ราคาจานหมึกก็พุ่งสูงขึ้นมากด้วย และถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนที่พระเจ้าแผ่นดินถึงกับจัด ตั้งกองงานจ
านหมึกขึ้น ยุคนี้จึงเป็นยุคที่รุ่งเรื่องที่สุดของจานหมึกเส้อเยี่ยน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นช่วงที่จานหมึกมีการพัฒนามาก หลังจากที่ราชวงศ์หนานถังล่มสลายไปแล้ว การขุดหินจากเมืองเส้อโจวเพื่อใช้ทำจานหมึกก็หยุดลง นานถึง 50 ปี กระทั่งในช่วงปี พ.ศ.1577-1581 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเหยินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง เฉียนเซียนจือเจ้าเมืองเส้อโจวในเวลานั้นได้ออกตรวจบริเวณพื้นที่ที่หลี่ เส้าเว่ยเคย
ขุดหิน พบว่าได้ถูกน้ำท่วมกลายเป็นลำธารสายใหญ่ไปแล้ว จึงสั่งลอกลำธารให้น้ำไหลกลับไปยังเส้นทางเดิม และเริ่มขุดหินมาทำจานหมึกอีกครั้ง

ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าเหยินจง หวางจวินอี้ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนใหม่ได้สานงานนี้ต่อ จึงมีการขุดหาหินขนานใหญ่กันอีกหลายครั้ง ทำให้มีจานหมึกเส้อเยี่ยนคุณภาพดีและประณีตออกสู่สายตาขุนนางปัญญาชนและ ศิลปินอยู่เส
มอๆ จนเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น บรรดานักเขียน ปัญญาชน จิตรกร ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงต่างชื่นชมจานหมึกชนิดนี้ ด้วยเห็นว่าหินมีหลากสี เนื้อเนียนดี จึงถือเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาจานหมึกทั้งหลาย กวีและนักเขียนหลายคนเช่น หงจิ่งป๋อ หูจื่อ ซูตงปอ (ซูเส้อ) โอวหยางซิว ไช่เซียง โจวปี้ต้า หวงซานกู่ ฯลฯ ต่างก็เขียนความเรียงและร้อยกลองชมจานหมึกชนิดนี้กันไว้หลายชิ้นทีเดียว จนมาถึงสมัยพระเจ้าหลี่จงแห่งราชวงศ์หนานซ่ง (ซ่งใต้ พ.ศ.1768-1807) เจ้าเมืองเส้อโจวจะต้องจัดหาจานหมึกเส้อเยี่ยนขึ้นถวายพระองค์เป็นประจำทุก ปี และต้องเป็นชนิดที่เรียกว่า “หลงเหว่ยเยี่ยน” ซึ่งถือเป็นจานหมึกชั้นดีที่สุด

ในสมัยราชวงศ์หยวน ช่วง พ.ศ.1807-1837 วังเยว่ซานายอำเภอของอำเภอวูหยวนได้เกณฑ์ชายฉกรรจ์หลายหมื่นคนไปขุดเอาหินเพื่อมาทำจ
านหมึกเพื่อสนองความละโมบของขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหลาย จนหินหมดทั้งภูเขา และมีเหตุเขาถล่มทับคนตายไปเป็นจำนวนมาก เมื่อบ่อหินเก่าถูกน้ำท่สมหมด ก็หันไปขุดที่บ่อหินจิ่งจู๋ ขุดกันเป็นเดือนเป็นปี จนในที่สุดบ่อนี้ก็พังุบลงในปี พ.ศ.1882 เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ดดยละเอียดว่า“ในคืนวันที่ 18 เดือน 10 เสียงน้ำไหลบ่าเข้าท่วมดังประดุจเสียงฟ้าผ่า จนกระเบื้องหลังคาที่อยู่ฝั่งตรงข้ามลำธารสั่นสะเทือนไปหมด ผู้คนและส่ำสัตว์ต่างแตกตื่นตระหนกตกใจ หลายปีก่อนหน้านี้คนงานเคยบอกข้าพเจ้าว่า หินในบ่อจิ่งจู๋ถูกขุดไปจนหมดสิ้นแล้ว ข้าพเจ้าไม่เชื่อ สุดท้ายก็เป็นความจริง เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วสองครั้งในรอบ 60 ปี น่าเสียใจมาก”เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นจึงได้เลิกขุดกันไปเป็นเวลานาน โดยไม่มีการขุดอีกเลยในสมัยราชวงศ์หมิง จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าคังซีและพระเจ้าหย่งเจิ้ง

จานหมึก
จานหมึก

ในสมัยราชวงศ์ชิง ก็ไม่มีการขุดอีกเช่นกัน แม้จะมีช่างจานหมึกในท้องถิ่นจับกลุ่มกัน หาเก็บหินเนื้อดีตามปากบ่อ ริมลำธาร เชิงเขา ริมฝั่งแม่น้ำ นำกลับไป ทำเป็นจานหมึกออกขาย ก็พอช่วยรักษาจานหมึกชนิดนี้ไว้ได้บ้าง แต่ก็ต้องถือว่าจานหมึกเส้อเยี่ยนมาถึงยุคตกต่ำสุดขีดจริงๆ เมื่อเทียบกับจานหมึกตวนเยี่ยนที่มีการขุดและทำกันมาตลอด และมีจานหมึกต้วยเยี่ยนหินเนื้อดีทยอยออกมาในช่วงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ ชิงอยู่เ
สมอ

จนถึงในรัชสมัยของพระเจ้าเฉียนหลง ถึงได้กลับมาขุดหินเพื่อทำจานหมึกกันใหม่ แต่จะทำกันกี่ครั้งนั้น ยังหาหลักฐานตรวจสอบมิได้ รู้เพียงว่าครั้งสุดท้ายขุดกันในปี พ.ศ.1320 เฉิงเหยานักวิชาการที่มีชื่อเสียงในอำเภอเส้อได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “บันทึกจานหมึก” ว่า “ในสมัยพระเจ้าเฉียนหลง เดือนห้า ข้าพเจ้าเดินทางกลับจากเมืองหลวงมายังเมืองเส้อ จากนั้นจัดแจงขุดเอาหินจากหลงเหว่ยมาฝนทำจานหมึก เพื่อนำถวายเป็นเครื่องบรรณาการ”

เมื่อเป็นการขุดหินทำจานหมึกเพื่อนำถวายกันเช่นนี้ก็ย่อมต้องทำการกันอย่างใหญ่โตแน่
และนี่ก็เป็นบันทึกชิ้นเดียวที่ยืนยันการขุดหินทำจานหมึกเส้อเยี่ยนกันในรัชสมัยของพ
ระเจ้าเฉียน หลง ซึ่งในช่วงเวลาเกือบ 500 ปี นับตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ซ่งจนถึงต้นราชวงศ์ชิง ไม่เคยมีการขุดหินเมืองเส้อโจวมาทำจานหมึกกันอย่างจริงจังเลยสักครั้ง

ในปีพ.ศ.2453 หม่าเหลียนเจี่ย แม่ทัพใหญ่ในมณฑลอันฮุย ได้สั่งให้ทหารซึ่งประจำอยู่ที่อำเภอวู่หยวนขุดหินที่นั่นมาทำจานหมึก แต่เนื่องจากแม่ทัพผู้นี้ไม่เคยศึกษาประวัติความเป็นมา จึงขุดได้แต่เศษหินเท่านั้น ในช่วงแรกที่จีนเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบบสาธารณรัฐ การทำจานหมึกเส้อเยี่ยนได้มาถึงจุดใกล้สิ้นสุด ร้านขายจานหมึกในอำเภอเส้อซึ่งเหลืออยู่เพียงร้านเดียวชื่อ วัง
อี้ซิ่ง (หรืออีกชื่อคือ หานเป่าซื่อ) แต่ก็ผลิตแต่จานหมึกด้อยคุณภาพที่ทำจากหินที่สั่งซื้อจากทางเจียงซี จานหมึกเหล่านี้ไม่มีคุณสมบัติเฉกเช่นจานหมึกเส้อเยี่ยนอีกแล้ว ร้านนี้ปิดตัวลงไปในช่วงสงครามต่อต้านญี่ปุ่น พวกช่างทำจานหมึกต่างหันไปทำอาชีพอื่น หรือไม่ก็แยกย้ายหนีภัยสงครามกันไป

การที่จานหมึกเส้อเยี่ยนมีชื่อเสียงและทรงคุณค่า นอกจากฝีมือการแกะสลักอันประณีตวิจิตรแล้ว เนื้อหินดีที่หายาก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งเพราะหินจากเมืองเส้อ หรือที่คนจีนเรียกว่าเส้อสือนี้ มีคุณสมบัติพิเศษคือ เนื้อแน่นแข็ง ชุ่มชื้น มันเงาและบริสุทธิ์ ลายหินมีความละเอียดประณีตเป็นธรรมชาติ สีดุจหยกเขียว และยังไม่อมน้ำรับหมึกดีไม่ทำให้พู่กันเสียหาย ใส่น้ำแล้วจะไม่เหือดแห้ง และล้างทำความสะอาดง่าย กวีและศิลปินจีนหลายคนชื่นชมจานหมึกชนิดนี้กันมาก ถึงกับชมว่า จานหมึกเส้อเยี่ยนนี้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็ก และมีเนื้อดุจผิวของหญิงสาว

เนื้อหินของจานหมึกเส้อเยี่ยนและจานหมึกตวนเยี่ยนมีความแตกต่างกันมาก คนจีนให้คำนิยามคุณสมบัติของจานหมึกเส้อเยี่ยนว่า “เจียนหรุ่น” ซึ่งหมายถึงแข็งและเรียบเนียน ขณะที่ตวนเยี่ยนจะต้องเป็นแบบ “เวินหรุ่น” หรือนุ่มและเรียบเนียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *