ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1616–1911) ยุครุ่งเรืองของราชวงศ์ชิงอยู่ในสมัยจักรพรรดิคังซี หย่งเจิ้น และเฉียงหลง เป็นยุคที่รุ่งเรืองมากที่สุดในราชวงศ์ชิง คังซีฮ่องเต้ได้ปราบปรามการกบฏที่ชินเจียง และรวมประเมศให้เป็นปรึกแผ่น ทำให้ราชวงศ์ชิงมีอาณาจักรที่กว้างใหญ่ไพศาลและมั่นคง
จักรพรรดิคังซีทรงให้ความสำคัญกับการเกษตร ส่งเสริมการขยายพื้นที่ทำกินก่อสร้างการชลประทาน ลดภาษีชาวนา ทำให้ทุกคนมีกิน เท่าที่พอจะสำรวจได้ ในสมัยของจักรพรรดิคังซี ได้มีการลดหย่อนการเสียภาษีทั้งหมดกว่า 500 ครั้ง นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดให้มีการรวบรวมสมุด หนังสือ “ กู่จินถูซูจี๋เฉิง ” (สมุดรวมหนังสือโบราณและปัจจุบัน) หนังสือรวมบทกวีราชวงศ์ถังและพจนานุกรมจักรพรรดิคังซี เป็นต้น
เล่ากันว่าจักรพรรดิเฉียนหลงไม่ใช่พรโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของเศรษฐีแซ่เฉินในเมืองไห่หนิง วันที่พระสนมเอกขององค์ชายหย่งเจิ้นมีพระประสูติการพระราชธิดาองค์หนึ่ง พอดีภรรยาของเศรษฐ๊เฉินได้คลอดบุตรชายคนหนึ่ง เมื่อหย่งเจิ้นทราบก็ทรงมีราชโองการลับสั่งให้เศรษฐีเฉินอุ้มลูฏเข้าเฝ้า และอ้างว่าพระสนมทรงอยากเห็ยหน้าบุตรของเศรษฐีเฉิน แล้วจึงให้ขันทีอุ้มบุตรของเศรษฐีเฉินเข้าวังฝ่ายใน หลังจากนั้นได้ทำการสับเปลี่ยนเอาพระราชธิดาให้กับเศรษฐีเฉินแทน ต่อมาเศรษฐีเฉินรู้ความจริง แต่มิกล้าขัดพระประสงค์ คาดไม่ถึงว่าบุตรชายคนนี้ของเค้าฉลาดมาตั้งแต่เกิด จึงเป็นที่โปรดปรานของจักรพรรดิคังซี และองค์ชายหย่งเจิ้น ในที่สุดได้กลายเป็นจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ว่ากันว่าตอนที่จักรพรรดิเฉียนหลงเสร็จภาคใต้เป็นครั้งที่ 6 ก็ได้แอบไปเยี่ยมญาติที่เมืองไห่หนิง
จักรพรรดิเฉียนหลงเป็นจักรพรรดิที่มีพระปรีชาสามารถทางด้านการทหาร และทางศิลปะที่หายากในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักสะสมโบราณวัตถุชั้นเยี่ยม ได้มีพระราชโองการให้จัดทำ ซื่อคู่เฉวียนซู (หนังสือชุดรวม 4 ด้าน) ได้รวบรวมหนังสือทั้งหมด 3503 ชนิด 79337 หมวด 36304 เล่ม จำนวนหมวดของหนังสือเป็น 3 เท่าของหย่งเล่อต้าเตี่ยน เป็นที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรม และแนวคิดโบราณของประเทศจีน
แต่จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดความยิ่งใหญ่อลังการ และโปรดความเป็นอยู่ที่หรูหรา พระองค์ทรงแต่งตั้งเหอเซินเป็นเสนาบดีนานถึง 20 ปี เหอเซินผู้นี้เป็นขุนนางกังฉินที่ฉ้อราษฏร์บังหลวงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ จีน ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดี ขุนนางทั้งใหญ่น้อยต่างก็โกงกินกันทั้งสิ้น ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ ราชวงศ์ชิงที่เคยรุ่งเรืองที่สุดกลับเสื่อมลงสู่ความพินาศ
จักรพรรดิองค์สุดท้าย เดือนพฤษจิกายน ปี ค.ศ.1908 ก่อนที่พระนางซูสีสวรรคต์เพียงวันเดียว พระนางได้โปรดแต่งตั้งจักรพรรดิผู่อี๋เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป ซึ่งจักรพรรดิผู่อี๋คือจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง
ปี ค.ศ.1911 ซุนจงซานได้ก่อการปฏิวัติซินไห้ ในวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ ปีถัดมาจักรพรรดิผู่อี๋มีพระราชโองการสละราชบัลลังก์ โดยยังอาศัยอยู่ในพระราชวังซึ่งเป็นการประกาศว่าราชวงศ์ชิงได้ส้นสุดลง ระบบกษัตริย์ที่มีมายาวนานกว่า 4000 ปีก็ได้สิ้นสุดลงไปด้วย
ในวันที่ 5 พฤษจิกายน ค.ศ. 1924 จักรพรรดิผู่อี๋เดินทางออกจากพระราชวังและลี้ภัยไปที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากเดินทางได้ไม่นานก็ไปถึงเทียนสินภายใต้การคุ้มครองของญี่ปุ่น วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.1932 ด้วยการวางแผนของญี่ปุ่น จักรพรรดิผู่อี๋ได้ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิราชอาณาจักรหม่านโจว ตกเป็นหุ้นเชิดของญี่ปุ่นในการรุกรานภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นยอมจำนน จักรพรรดิผู่อี๋ถูกคุมขังในฐานะเชลยศึก ต่อมาได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระและถูกถอดให้เป็นสามัญชนธรรมดา ซึ่งจักรพรรดิผู่อี๋นับเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายในประวัติศาสตร์จีน