ขงเบ้งวางแผน

กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น

ขงเบ้งวางแผน
ขงเบ้งวางแผน

กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า “สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน” ใน “คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ” ได้อธิบายไว้ว่า “ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้” ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก ที่ว่า “ซ้ำซาก คืออุบายรู้มืด” นั้น เมื่อนำมาใช้ในการทหาร หมายถึงใช้วิธีการสอดแนมหลายครั้งหลายหน อันเป็นวิธีสำคัญในการเข้าใจสภาพข้าศึก ค้นพบศัตรูที่แฝงเร้นอยู่ ความหมายของ “ตีหญ้าให้งูตื้น” ก็คือแม้เราจะตีหญ้า แต่งูที่ซ่อนอยู่ในหญ้าก็ตื่นตกใจ นี้เป็นกลอุบายที่ใช้การสอดแนม แจ้งชัดในสภาพข้าศึกที่เราโอบล้อมอยู่ แล้วตียังจุดหนึ่งซึ่งจะกระเทือนไปทั้งแนว หลักจากนั้นจึงทำลายข้าศึกให้แหลกลาญไปทีละส่วนอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อสภาพของข้าศึกยังไม่ชัดแจ้งแก่เรา เราไม่ควรจะปฏิติการอย่างลวกๆ จะต้องหาทางสืบทราบสภาพของข้าศึกให้ถ่องแท้ ครั้งเมื่อทราบเจตนาของฝ่ายตรงข้ามแล้ว จึงออกโจมตี เยี่ยงเดียวกับงูที่ซ่อนอยู่ในหญ้า ควรจะใช้ไม่ตีพงหญ้าไปรอบๆ เพื่อให้งูปรากฏให้เห็น แล้วจึงจับเอาในภายหลัง ไม่จำเป็นต้องบุกเข้าไปจับจนถึงรังงูให้เปลืองแรง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *