กองเรืออาร์มาดา

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ

ศึกผาแดง
ศึกผาแดง

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ : จากยุทธนาวีเซ็กเพ็กจนถึงยุทธนาวีอาร์มาดา ตำราพิชัยสงครามซุนวูว่าไว้ว่า “อันการโจมตีด้วยเพลิวนั้น พึงใช้กำลังพลรุกประสานตามลักษณะเพลิงทั้งห้า เพลิงไหม้จากภายใน พึงรุกประสานจากภายนอกโดยเร็ว เพลิงไหม้ข้าศึกสงบเงียบ ให้รออย่าบุก เมื่อเพลิงไหม้แรง ควรบุกให้บุก ไม่ควรบุกให้ยั้ง เพลิงวางจากภายนอกได้ อย่ารอจากภายใน ให้วางเพลิงตามเวลา เพลิงไหม้เหนือลม อย่าบุกใต้ลม กลางวันลมนาน กลางคือลมหยุด การทำศึกพึงรู้การเปลี่ยนของเพลิงทั้งห้า คำนวณเวลาเฝ้ารอโอกาส ฉะนั้น ใช้เพลิงช่วยการโจมตีจักมีผลชัด”

หากเราได้อ่านสามก๊กกันมา คงจะไม่มีใครไม่รู้จักศึกผาแดง หรือสงครามเซ็กเพ็ก ที่โจโฉนำทัพบกทัพเรือกว่า 8 แสนนายเข้าโจมตีกองทัพเล่าปี่และซุนกวน และจบลงด้วยการที่กองทัพโจโฉถูกไฟและลมอาคเนย์เผาย่อยยับทำให้กองทัพเล็กๆ อย่างเล่าปี่สามารถตั้งตัวได้ในจังหวะที่กองทัพโจโฉเสียท่าที่สมรภูมิเซ็ก เพ็ก เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้เล่าปี่สามารถตั้งหลักได้โดยการเข้ายึดเกงจิ๋วตอน ใต้ได้ ซึ่งนั่นเป็นเหตุการณ์กว่า 1,800 ปีที่ผ่านมา แต่แล้ว ด้วยสถานการณ์และโอกาสเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงกันนี้ก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้งใน ทวีปยุโรป

กองเรืออาร์มาดา
กองเรืออาร์มาดา

โดยเกิดขึ้นระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลอย่างสเปน ในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1588กองทัพเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนำโดยดยุคแห่งเมดิน่าซิโนเดีย(ประกอบ ด้วย เรือธง และเรือรบขนาดใหญ่ 151 ลำพร้อมกองกำลัง 20,000 นาย) โดยมีกองทัพของดยุคแห่งปาร์มาเป็นทัพเสริมอีก 17,000 นาย ได้ออกเดินทางจากสเปนเพื่อเข้าโจมตีเกาะอังกฤษ โดยที่ฝ่ายอังกฤษมีกองทัพเรือที่จะป้องกันเพียง เรือรบขนาดเล็ก 226 ลำ โดยมีผู้บัญชาการกองเรือคือ ชาร์ล โฮเวิร์ด , เซอร์ฟรานซิส เดรค , ลอร์ด เฮนรี่ ซีมัวร์ , เซอร์ มาร์ติน โฟรบิเชอร์ และ เซอร์ จอห์น ฮอว์กิน

การรบครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม ค.ศ. 1588 โดยกองทัพเรืออังกฤษและสเปนมีการต่อสู้กันอย่างประปราย โดยกองเรืออังกฤษได้นำเรือเข้าโจมตีกองเรือสเปนที่ช่องแคบอังกฤษเป็นผลให้ เรือโรซารี และ เรือชาลซัลวาดอร์ ของสเปนถูกอังกฤษยึดได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม กองทัพเรือสเปนเป็นฝ่ายรุกคืนโดยดยุคแห่งเมดิน่าซิโนเดียได้พยายามพลักดัน ให้ทหารสเปนบุกขึ้นเรืออาร์ค รอยัล เรือธงของกองทัพอังกฤษ แต่ว่าไม่สามารถบุกขึ้นไปได้ (คาดว่ากองทัพอังกฤษคงจะรู้ถึงความสามารถในการต่อสู้แบบตัวต่อตัวของทหาร เรือสเปนจึงทำการป้องกัน) กองทัพเรือของดยุคแห่งเมดิน่าซิโนเดียจึงทอดสมอลอยอยู่กลางทะเลเพื่อป้องกัน การโดนพายุในช่องแคบอังกฤษพัดเรือออกจากเส้นทาง และรอให้กองทัพของดยุคแห่งปาร์มานำทัพมาเสริม แต่ปรากฏว่ากองทัพเรือของดยุคแห่งปาร์มาไม่สามารถมาช่วยได้เนื่องจากเรือรบ หลายลำได้แล่นหนีออกจากกองเรือไป ผู้บัญชาการกองทัพเรืออังกฤษเห็นสถานการณ์เป็นดังนั้นจึงเสริมกำลังและ ตัดสินใจใช้เรือไฟจัดการกองทัพเรือสเปน

กองเรืออาร์มาดา
กองเรืออาร์มาดา

โดยในเช้าวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1588 อังกฤษส่งเรือไฟ(ภายในเรือบรรจุเชื้อไฟและวัตถุที่ติดไฟได้ง่าย) จำนวน 8 ลำเข้าไปในกลางกองทัพเรือสเปนในระหว่างที่กองทัพเรือสเปนทอดสมอลอยอยู่กลาง ทะเล และเพื่อให้แผนนี้ได้ผลอังกฤษได้ส่งเรือไฟ 8 ลำนี้ให้แล่นไปแบบเรียงกันเป็นคู่ๆ หนทางเดียวที่จะป้องกันได้คือต้องลากเรือไฟออกจากแนวที่แล่นมา ให้ออกไปจากเส้นทางที่กองเรือสเปนจอดอยู่ แต่พวกสเปนสามารถดึงเรือไฟออกไปได้แค่คู่เดียว ทำให้เรือไฟอีก 6 ลำที่เหลือเกิดไฟลุกไหม้และพุ่งเข้าชนเรือสเปนและเกิดการลุกไหม้อย่างรวด เร็วเนื่องจากมีกระแสลมแรง ทำให้กองทัพเรืออาร์มาดาของสเปนต้องแล่นกระจายตัวออกจากกันเพื่อป้องกันความ เสียหาย แต่ก็สายเกินกว่าจะแก้ไขได้ ด้วยลมที่แรงทำให้ไฟลุกลามจากเรือสู่เรืออย่างรวดเร็วและเกิดการระเบิดขึ้น บนเรือสเปนอย่างต่อเนื่อง (ในความเป็นจริงกองทัพเรือสเปนในตอนนี้ก็คือเรือบรรทุกระเบิดดีดีนี่เอง เพราะภายในเรือประกอบด้วยระเบิดดินดำที่จะนำมาใช้ถล่มกองทัพเรืออังกฤษ) เรือบางลำระเบิดเพราะถูกไฟเผา บ้างก็จมเพราะชนกันเองระหว่างพยายามจะหนีจากเรือไฟ

พอถึงตอนเช้ากองทัพเรือสเปนก็สิ้นสภาพ กลายเป็นเรือเด็กเล่นที่ลอยอยู่กลางทะเล เพื่อรอให้กองทัพเรืออังกฤษมาบดขยี้ เรือบางลำที่รอดจากการถูกเผา ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นจากความพินาศ เพราะว่ากระแสลมนั้นได้พัดให้เรือของสเปนลอยขึ้นไปทางเหนือของอังกฤษและเข้า สู่พื้นที่ของสก็อตแลนด์ โดยทะเลแถบนี้มีโขดหินมากมาย และอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ทหารสเปนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทหารคนสุดท้ายที่ได้กลับสเปนเป็นคนที่ได้ทิ้งเพื่อนไว้ในแนวรบตั้ง 11,000 คนและเรือรบอีก 1 ใน 3 ของกองทัพเรือทั้งหมดจมลงในทะเล และนี่คือจุดจบของความยิ่งใหญ่ของกองทัพเรือสเปนอันเกิดมาจาก เรือไฟ 8 ลำ และลมจากช่องแคบอังกฤษ หลังจากสิ้นสงครามอังกฤษก็ได้ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางทะเลต่อจากสเปนทันที

นี่คืออีก 1 บทของความรุนแรงของการโจมตีด้วยไฟ ที่ทำให้กองทัพที่เล็กกว่าสามารถพิชิตกองทัพที่ใหญ่กว่าทุกด้าน หรือพวกเราจะเรียกว่าศึกครั้งนี้ว่าศึกเซ็กเพ็กของฝรั่งก็น่าจะไม่ผิด สาเหตุที่สเปนพบจุดจบเช่นนี้เกิดขึ้นจากความประมาทของผู้บัญชาการเรือที่จอด เรือลอยนิ่งๆอยู่กลางทะเลกันในจำนวนที่เยอะเกินไป ทำให้ไม่สามารถแล่นหนีออกจากกันในยามฉุกเฉินได้ ซึ่งก็จะคล้ายๆกับการที่กองทัพของโจโฉได้นำโซ่มาผูกเรือไว้ติดกันทำให้ไม่ สามารถหลีกหนีจากการโจมตีด้วยไฟ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *