อ้วนเสี้ยว

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (5)

อ้วนเสี้ยว
อ้วนเสี้ยว

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ(5) : การพิชิตกิจิ๋วสู่การยึดออสเตรียและเชโกสโวเกีย ตำราพิชัยสงครามซุนวูว่าไว้ว่า “ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักสยบทัพข้าศึกได้โดยมิต้องรบ จักยึดเมืองข้าศึกโดยมิต้องตี”

หมายความว่า การใช้อุบายในทางการเมืองและการทูตเอาชนะข้าศึกเป็นเรื่องที่เยี่ยมที่สุด และ ควรชี้ให้เห็นว่า ในสงคราม “การเอาชนะด้วยอุบาย” “การเอาชนะด้วยการทูต” นั้น เป็นมาตรการสำคัญ นั้น เป็นมาตรการสำคัญอันจะขาดเสียมิได้ในการต่อสู้กับข้าศึก

ในสมัยสามก๊กอ้วนเสี้ยวได้ใช้กลอุบายในการชิงเมืองกิจิ๋ว โดยการส่งจดหมายลับไปให้กองซุนจ้านเข้าตีเมืองกิจิ๋วแล้วอ้วนเสี้ยวจะยกทัพ ไปช่วย กองซุนจ้านเชื่อสนิทใจจึงจัดแจงกองทัพ เมื่อถึงกำหนดกองซุนจ้านยกทัพเข้าตีเมืองกิจิ๋ว ฮันฮกเจ้าเมืองกิจิ๋วทราบข่าวว่ากองซุนจ้านยกมาตี จึงส่งจดหมายให้อ้วนเสี้ยวยกทัพมาช่วย

อ้วนเสี้ยวเห็นได้ที จึงสวมรอยและบีบให้ฮันฮกยกเมืองกิจิ๋วให้แก่ตน ฮันฮกด้วยสถานการณ์ขับขันจึงต้องยกเมืองให้แก่อ้วนเสี้ยวนับแต่นั้นมา ผลของอุบายที่อ้วนเสี้ยวใช้ทำให้สามารถยึดเมืองกิจิ๋วได้โดยไม่เสียไพร่ผล เลยแม้แต่น้อย

หลังจากยุคสมัยผ่านไปแต่กลยุทธ์ชนะโดยไม่ต้องรบมีปรากฏให้เห็นอีกครั้งใน ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเยอรมันได้ใช้กลอุบายทางการเมืองและทางการทูต ดังนี้

ตั้งแต่ปี 1937 นาย ชูชนิกก์นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย ได้วางแผนที่จะฟื้นฟูราชวงศ์ของออสเตรียขึ้นมาใหม่ โดยหารู้ไม่ว่าฮิตเล่อร์ได้เตรียมแผนการกลืน ออสเตรียไว้แล้ว

เยอรมันผนวกออสเตรีย
เยอรมันผนวกออสเตรีย

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1938 ฮิตเล่อร์พบนายชูชนิกก์ และกดดันนานถึง 11 ชั่วโมงโดยให้ออสเตรียยอมรับว่า พรรคนาซีเป็นพรรคที่ถูกต้องตามกฏหมายพรรคเดียวเท่านั้นของรัฐบาล ออสเตรีย โดยบีบให้นายชูชนิกก์ต้องตอบรับข้อเสนอของเยอรมันภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เวลา 18.00 น. ถ้าปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวเยอรมันจะกรีทาทัพใหญ่เข้ายึดออสเตรียในทันทีั ในครั้งนี้ไม่มีใครที่จะช่วยออสเตรียได้ นายชูชนิกก์จึงได้ประกาศให้ออสเตรียเป็นประเทศคริสเตียนและเป็นประเทศ อิสรภาพ ในวันที่ 9 มีนาคม ประกาศว่าควรมีการทำประชามติ ว่าชาวออสเตรียต้องการเป็นประเทศที่มีเสรีภาพหรือต้องการรวมอยู่กับเยอรมนี ฮิตเล่อร์จึงยื่นคำขาดให้ไมคลาสประธานาธิบดีของออสเตรีย ให้ปลดนาย ชูชนิกก์ แล้วตั้งนาย อินควอท เป็นนายกรัฐมนตรีแทน แต่ อินควอทปฏิเสธตำแหน่ง นายไมคลาสจึงต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบไปพร้อมกันทั้งบอกให้ฮิตเล่อร์นำ กองทัพ เข้าไปยังออสเตรีย ในวันที่ 11 มีนาคมกองทัพเยอรมันก็เข้าสู่ออสเตรีย ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม ฮิตเล่อร์ประกาศว่าออสเตรีย เป็นจังหวัดหนึ่งของอาณาจักรไรซ์ของเยอรมนี

เยอรมันผนวกเช็คโกสโลวเกีย
เยอรมันผนวกเช็คโกสโลวเกีย

ในวันที่ 15 กันยายน 1938 เมื่อเฮเลนประกาศว่า “บัดนี้ชาวเยอรมันในสุเดเตนต้องการกลับไปอยู่กับอาณาจักรไรซ์ของเยอรมัน” ในขณะนั้น เชมเบอร์เลนนายกรัฐมนตรีของอังกฤษได้เข้าพบฮิตเล่อร์เพื่อเจรจา ฮิตเล่อร์กล่าวว่าอาจจะหลีกเลี่ยงสงครามได้หากให้ชาวเยอรมันในสุเดเตนมีทาง เลือกเป็นของตัวเอง หลังจากนั้นก็เดินทางกลับไปอังกฤษเพื่อหาข้อยุติ แล้วจึงเดินทางกลับมาหาฮิตเล่อร์

แต่มาคราวนี้ฮิตเล่อร์ต้องการให้เชโกสโลวเกียถอนตัวออกจากสุเดเตนทั้งหมด ตามที่เยอรมันได้กำหนดเอาไว้ รัฐบาลเชโกสโลวเกียปฏิเสธความต้องการของฮิตเล่อร์ทันที ในวันที่ 26 กันยายน หลังจากที่เยอรมันได้รับการปฏิเสธ ฮิตเล่อร์ได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างดุเดือดที่จะทำสงครามกับ เชโกสโลวเกีย ทางอังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซียประกาศว่าหากเยอรมันเคลื่อนพลบุกเชโกสโลวเกีัย ก็จะทำการเข้าช่วยเหลือเชโกสโลวเกียในทันที

ฮิตเลอร์พบเชมเบอร์เลน
ฮิตเลอร์พบเชมเบอร์เลน

เชมเบอร์เลน ได้ยื่นข้อเสนอที่สันติให้แก่ฮิตเล่อร์แต่ทว่าฮิตเล่อร์เฉยเมยต่อข้อเสนอ นั้น ในวันรุ่งขึ้น มุสโสลินี เชมเบอร์เลน ดาลาเดียร์ ถูกเชิญให้มาพบฮิตเล่อร์ที่เมืองมิวนิก ในการประชุมครั้งนี้มีมติว่าให้เชโกสโลวเกียถอนตัวออกจากสุเดเตน ภายในวันที่ 10 ตุลาคม เมื่อถูกมหาอำนาจทั้ง4 แบ่งดินแดนไป เบเนสจึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นประธานาธิบดี ในวันที่ 5 ตุลาคม ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนก็คือ อีมิล ฮาชา หลังจากนั้นไม่นานประเทศเชโกสโลวเกียก็ได้แตกออกไปด้วยความไม่ลงรอยของคนใน ประเทศ ทำให้เชโกสโลวเกียได้ถึงจุดจบ และพื้นที่ก็ได้ตกเป็นของเยอรมัน เท่ากับว่าฮิตเล่อร์ได้ทำลายประเทศเชโกสโลวเกียได้โดยไม่ต้องเสียกำลังทหาร แต่อย่างใด

สองเหตุการณ์นี้เป็นข้อพิสูจน์ที่ว่าหากเราใช้การเมืองและการทูตที่ดีเพียง พอและมีกองทัพคอยสนับสนุนการชนะโดยไม่ต้องรบย่อมเป็นไปได้ แต่ต้องอย่าฝืนที่จะนำกองทัพเข้าตีก่อนเพราะมีแต่จะทำให้เสียหายทั้งสองฝ่าย โดยไม่จำเป็น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *