ซุนกวนแต่งตั้งจิวยี่เป็นแม่ทัพใหญ่

การใช้คนของซุนกวน

ซุนกวนบริหารคน
ซุนกวนบริหารคน

การใช้คนของซุนกวน สามก๊ก (The Tree Kingdoms or San Kuo Chih Yen’i) ที่เขียนโดยหลอกกว้านจงหรือล่อกวนตง(Lo Kuan Chung ) คือ 1 ใน 4 สุดยอดวรรณกรรมจีนซึ่งประกอบไปด้วยสามก๊ก, ไซอิ๋ว, 108 ผู้กล้าแห่งเขา เหลียงซานและความฝันในหอแดง วรรณกรรมเหล่านี้มีความโดดเด่น งดงามที่แตกต่างกันไปโดยเฉพาะสามก๊กซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ชาวไทยรู้จักกันดี ทั้งยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของความเรียงเรื่องนิทาน

สำหรับสามก๊กเข้ามาในประเทศไทยนับตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชทรงมีพระราชดำรัสรับสั่งให้เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เป็นแม่กองแปลวรรณคดีเรื่องนี้เมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว แม้กาลเวลาจะผ่านไปสองศตวรรษแต่วรรณคดีเรื่องนี้ยังได้รับความสนใจจากนัก เขียนและนักอ่านทุกยุคทุกสมัยอย่างต่อเนื่องและหลากหลายแง่มุมทั้งที่เป็น หนังสืออ่านทั่วๆไปเช่น สามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ, สามก๊กฉบับนายทุน: โจโฉนายกตลอดกาล,เบ้งเฮ็กผู้ถูกกลืนทั้งเป็นของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, พิชัยสงครามสามก๊กของ สังข์ พัธโนทัย, ความหมายทางการเมืองของสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ของ สมบัติ จันทรวงศ์ ฯลฯ

รวมไปถึงหนังสือสามก๊กที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจหรือพัฒนาตนเองเช่น สามก๊กฉบับแฟนพันธุ์แท้:คิดเป็นเห็นต่าง, อ่านสามก๊กอย่างแฟนพันธุ์แท้ ของ ชัชวนันท์ สันธิเดช, กลศึกสามก๊ก , บริหารงานด้วยกลยุทธ์สามก๊ก,ขุดกรุ-สมบัติสามก๊ก ของบุญศักดิ์ แสงระวี

นอกจากนี้ยังมีเอกสารงานวิจัยที่มีผู้สนใจศึกษาวิจัยอีกหลายเล่ม เช่น ประพิณ มโนมัยวิบูลย์( 2510) ศึกษาสามก๊กฉบับภาษาไทยเปรียบเทียบกับต้นฉบับภาษาจีน, มานิตย์ เสงี่ยมพรพาณิชย์(2522) ผู้นำกับการบริหารในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก, ดวงใจ ปลาหนองโปร่ง(2551) การวิเคราะห์วาทะจูงใจในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ,ร้อยตำรวจเอกไพรัตน์ เทศพานิช (2541) ความคิดทางการเมืองในสามก๊กและเจ้าผู้ปกครอง

ด้วยข้อมูลดังกล่าวจึงน่าจะเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณค่าของวรรณกรรมฉบับดัง กล่าวในด้านการบริหาร การวางแผนกลยุทธ์ ภาษา จริยธรรม ฯลฯ ได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเรื่องการบริหารคนของผู้นำองค์กรในสามก๊กซึ่งส่วน ใหญ่หลายคนจะเน้นศึกษาเฉพาะโจโฉและเล่าปี่ โดยละเลยพฤติกรรมการบริหารคนของซุนกวน จักรพรรดิของง่อก๊กทั้งที่ซุนกวนก็มีรูปแบบการบริหารคนที่มีความโดดเด่นแตก ต่างกับผู้นำคนอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด

ที่สำคัญการบริหารคนของซุนกวนก็ยังสอดคล้องกับการบริหารแนวใหม่เนื่องจากแนว คิดของตระกูลซุนนับตั้งแต่ซุนเซ็ก พี่ชายของซุนกวนซึ่งเป็นผู้วางรากฐานก่อสร้างอาณาจักง่อก๊กให้ความสำคัญกับ เรื่อง “หากระแวงย่อมไม่ใช้และหากจะใช้ย่อมไม่ระแวง” ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวในยุคของซุนกวนถูกพัฒนากลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรของอาณา จักรง่อก๊กและสามารถทำให้ง่อก๊กเป็น 1 ใน 3 อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในยุคสามก๊ก

ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าการบริหารคนของซุนกวนเป็นเรื่องที่น่า ศึกษามากเพราะแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ และสามารถนำมาปรับใช้ได้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะวิเคราะห์วัฒนธรรมการใช้คนของซุนกวน ในวรรณกรรมสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เพื่อศึกษาการใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จบตอนที่ 1

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *