สามก๊กโจโฉแตกทัพเรือ-06

การใช้คนของซุนกวน (2)

ซุนกวนบริหารคน
ซุนกวนบริหารคน

การใช้คนของซุนกวน (2) สำหรับการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ในสาระสำคัญในเรื่อง “วัฒนธรรมการใช้คน” ซึ่งเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จในหลายๆมิติโดยศึกษาผ่านตัวละคร ซุนกวน ในวรรณกรรมสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) โดยจะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และอธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ เกิดประโยชน์

ฐานในการวิจัยและแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเน้นวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary research) ซึ่งจะพรรณนาและวิเคราะห์โดยจะพิจารณาเฉพาะวรรณกรรมสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เป็นหลัก ที่สำคัญการวิจัยดังกล่าวจะเน้นการวิเคราะห์สาระของเรื่อง(Content Analysis) โดยเริ่มจาก ศึกษาวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการบริหารคน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายในการวิเคราะห์ศึกษาจากสาระสำคัญในเนื้อความ ซึ่งเป็นแก่น( Them) ของวรรณกรรมสามก๊กโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารคนของซุนกวน แล้วนำมาสังเคราะห์และวิเคราะห์สรุปเป็นผลรายงานการวิจัย

ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดทฤษฎีแบบสหวิทยาการเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 3 แนวคิดทฤษฎีที่เป็นฐานความคิด

1) ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ(ทางด้านพฤติกรรม) ของ โรนาลด์ ลิพพิท และ ราล์พ ไวท์
2) ทฤษฎีลำดับความจำเป็น (Hierarchy of needs) ของมอสโลว์
3) ทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่

ผลการวิจัย

วัฒนธรรมการใช้คนของผู้นำองค์กรในวรรณกรรมสามก๊กมีความเหมือนกันคือให้ความ สำคัญกับคนดีมีฝีมือดั่งสำนวนกล่าวว่า “แม่ทัพที่ดีคนหนึ่งหายากกว่าทหารนับหมื่น” แต่สิ่งที่เห็นต่างได้อย่างเด่นชัดคือวิธีการใช้คนหรือการมอบอำนาจให้กับผู้ ใต้บังคับบัญชารวมไปถึงการมัดใจบุคลากรในองค์กร

สำหรับเล่าปี่ โจโฉ หรือตัวละครคนอื่นๆจะไม่นิยมมอบอำนาจทางการทหารให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาทำ ให้เห็นว่าในการออกศึกแต่ละครั้งทั้งเล่าปี่และโจโฉหรือตัวละครคนอื่นๆจะ ต้องอยู่ในสมรภูมิรบไม่ต่างกับแม่ทัพนายกองคนอื่นๆ ความสำเร็จที่ได้มาของผู้นำแต่ละคนจึงเต็มไปด้วยความเหนื่อยยากและลำบากตราก ตรำในการทำศึก

ทว่าสำหรับซุนกวนแม้จะมีบางศึกที่เขาต้องออกไปรบหรือนำทัพด้วยตนเองแต่ก็ถือ ว่าน้อยมากเมื่อต้องเทียบกับผู้นำคนอื่นๆ ทว่าเขาก็สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างโดดเด่นและคงความยิ่งใหญ่มานานนับ ทศวรรษและเหตุผลที่ทำให้เขาสามารถยืนผงาดได้เช่นนั้น เนื่องจากซุนกวนมีความสามารถทางด้านการใช้คนเป็นอย่างดี ภายใต้กรอบ “หากระแวงย่อไม่ใช้และหากจะใช้ย่อมไม่ระแวง” ทำให้บุคลากรเหล่านั้นสามารถแสดงศักยภาพของตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่

แม้ว่ากรอบคิดดังกล่าวซุนเซ็กผู้วางรากฐานให้กับง่อก๊กจะเป็นผู้คิดแต่เขา กลับไม่ได้นำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมเนื่องจากสิ้นชีวิตไปก่อน เมื่อซุนกวนสืบทอดอำนาจต่อจากพี่ชายเขาก็นำกรอบคิดดังกล่าวมาปรับใช้ได้ อย่างเป็นรูปธรรมและถูกนำมาพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรของง่อก๊กไปโดย ปริยาย

ผลจากการศึกษาทำให้สามารถสร้างโมเดลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของซุนกวนโดย จำแนกออกเป็น 4 เรื่องหลักได้แก่ ภาวะผู้นำ , การบริหารคน,การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร, การผูกใจคน

จบตอนที่ 2

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *