สามก๊กโจโฉแตกทัพเรือ-05

การใช้คนของซุนกวน (3)

ซุนกวนบริหารคน
ซุนกวนบริหารคน

การใช้คนของซุนกวน (3)

1.ภาวะผู้นำ  ตระกูลซุนสามยุคนับตั้งแต่ซุนเกี๋ยน ซุนเซ็กและซุนกวน ล้วนเป็นผู้กล้าแห่งยุคสามก๊กโดยเฉพาะซุนเกี๋ยนและซุนเซ็ก โดยเฉพาะซุนเซ็กผู้บุกเบิกกังตั๋งแม้จะมีฝีมือรบพุ่งที่ห้าวหาญและมีวิสัย ทัศน์กว้างไกลจนสามารถสร้างอาณาจักรของตนเองได้ก่อนโจโฉและเล่าปี่ ความเป็นผู้นำของพ่อและพี่ชายจึงเป็นแบบอย่างสำคัญในการหล่อหลอมบุคลิกภาพ และความเป็นผู้นำที่ทะเยอทะยาน

ครั้งหนึ่งซุนกวนได้พบกับโลซกและเจรจากันถูกใจจึงได้ชวนโลซกไปนอนที่วังโดย ซุนกวนนอนคุยกับโลซกเรื่องการเมือง โลซกจึงกล่าวว่า “…ทุกวันนี้พระเจ้าเหี้ยนเต้เสวยราชสมบัติแผ่นดินก็เป็นจลาจลต่าง ๆ เราเห็นว่าบ้านเมืองจะร่วงโรยสาบสูญอยู่แล้ว ซึ่งเราได้รักษาเมืองแทนซุนเซ็กผู้พี่ เราคิดจะใคร่ทำการให้กว้างขวางใหญ่หลวงออกไปให้เหมือนครั้งพระเจ้าจิ๋นบุ นก๋งเสวยราชสมบัติ แลหัวเมืองทั้งปวงกล้าแข็งทำการหยาบช้าต่าง ฝ่ายจิ๋นบุนก๋งกับเจ๋ฮวนก๋งเป็นมหาอุปราช คิดอ่านปราบปรามหัวเมืองราบคาบ อ่อนน้อมอยู่ในอำนาจสิ้น บ้านเมืองจึงเป็นสุขสืบมา…”

สิ่งเหล่านี้คือความตั้งใจของซุนกวนเมื่อได้ครองเมืองกังตั๋งได้ไม่นานและ ยังไม่มีแรงกดดันจากภายนอก ทว่าเมื่อโจโฉเตรียมทัพจะไปทำสงครามกับอ้วนเสี้ยว และได้ทำอุบายหวังจะผูกมัดซุนกวนไว้ โดย “…มีหนังสือไปถึงซุนกวนเป็นใจความว่า ให้ส่งบุตรมาถวายพระเจ้าเหี้ยนเต้ ให้ทำราชการในเมืองหลวงเป็นความชอบ…” ซุนกวนจึงนำความไปปรึกษากับนางงอฮูหยิน เตียวเจียว และจิวยี่นั้น เตียวเจียวเสนอให้ซุนกวนยอมส่งบุตรไปให้เพราะเกรง “…จะผิดด้วยขนบธรรมเนียมโจโฉก็จะมีใจพยาบาท…”

ส่วนจิวยี่เสนอต่อซุนกวนว่า “…ทุกวันนี้ตัวท่านก็ได้เป็นใหญ่ในเมืองกังตั๋ง มีเมืองใหญ่ขึ้นถึงหกหัวเมืองทหารก็พรักพร้อมมีความรักใครท่าน อนึ่งเสบียงอาหารก็มั่งคั่งบริบูรณ์อยู่ และจะคิดย่อท้อกลัวโจโฉหาควรไม่ แม้ว่าท่านส่งบุตรไป ก็เหมือนเอาบุตรไปเป็นคนจำนำไว้ เบื้องหน้าไปจะได้ความเดือดร้อนเป็นอันมาก…”

ซุนกวนก็เห็นชอบด้วยกับจิวยี่เพราะเป็นความเห็นที่สอดคล้องกับความทะเยอ ทะยานของตนจึงบอกกับคนถือหนังสือว่า ซึ่งโจโฉจะให้ส่งบุตรไปนั้น จะส่งไปมิได้ท่านเร่งกลับไปแจ้งแก่โจโฉเถิด…” จากตัวอย่างเบื้องต้นเราจะพบว่าซุนกวนเป็นผู้นำที่มีจุดยืนชัดเจนแต่ไม่กล้า แสดงความมุ่งมั่นตั้งใจเนื่องจากเกรงความผิดพลาดจึงจำเป็นต้องมีคนสนับสนุน

ที่สำคัญด้วยวัยเพียง 15 ปีในขณะสืบทอดตำแหน่งผู้นำทางการเมืองทำให้มีโอกาสที่จะกลายเป็น “หุ่นเชิด”ของบรรดาขุนนางอาวุโสรุ่นบุกเบิก มีผลทำให้การใช้อำนาจหรือการตัดสินใจไม่เด็ดขาดซึ่ง ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตจากการตัดสินใจประกาศสงครามรบกับโจโฉ ซึ่งซุนกวนไม่อาจที่จะตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดทั้งที่ขุนนางฝ่ายทหารต้องการ ให้ที่จะให้รบแต่ขุนนางฝ่ายพลเรือนส่วนใหญ่ต้องการให้ยอมแพ้

ดังใจความว่าที่ว่า เมื่อครั้งแรกที่ซุนกวนรู้ข่าวว่าโจโฉได้เมืองเกงจิ๋วแล้วและเห็นชอบที่จะ ให้โลซกเดินทางไปชักชวนเล่าปี่มาเป็นพันธมิตรเพื่อต่อต้านโจโฉ แต่เมื่อซุนกวนได้รับหนังสือเกลี้ยกล่อมจากฝ่ายโจโฉที่ชักชวนตนให้ร่วมกำจัด เล่าปี่ และเตียวเจียวกับที่ปรึกษาทั้งปวงพากันเห็นชอบ “..ขอให้คิดไปอ่อนน้อมโจโฉ…”

ซุนกวนก็ “…นิ่งอยู่มิได้ว่าประการใด…” จนเมื่อถูกเตียวเจียวเร่งซ้ำเสียอีก “…ซุนกวนลั่นศีรษะแล้วก็นิ่งเสีย…” เนื่องจากขัดต่อความต้องการของตนเองที่ต้องการสู้กับโจโฉ
จนโลซกได้ชี้ให้ซุนกวนได้เห็นอีกว่า “…โจโฉหรือจะเลี้ยงท่านเป็นใหญ่ถึงจะทำนุบำรุงก็แต่เป็นประมาณ… …จะเหมือนท่านเป็นโสดแก่ตัวอยู่ในเมืองกังตั๋งหรือ อันคนทั้งปวงว่านั้นประโยชน์จะรักษาตัวให้เป็นสุข หาเจ็บร้อนด้วยท่านไม่…” ซุนกวนเห็นความคิดของโลซกสอดคล้องกับตนจึงสอบถามต่อไปว่า “…ซึ่งจะคิดทำการต่อสู้ด้วยโจโฉนั้นจะผ่อนผันประการใดดี…”

โลซกจึงไปเชิญขงเบ้งมาจากกังแฮ จนเมื่อขงเบ้งได้พบกับซุนกวนในท้องพระโรงกังตั๋ง ขงเบ้งจึงแนะนำว่า “…ขอให้ท่านเล่าปี่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันรวมทหารทั้งสองฝ่ายเข้าช่วยกัน คิดอ่านทำการกำจัดโจโฉเห็นจะได้ ด้วยทหารโจโฉเป็นชาวดอน ถึงชาวเมืองเกงจิ๋วซึ่งชำนาญเรือนั้นเล่าก็เป็นคนจำใจ จะทำการมิเต็มมือเห็นสู้กันได้…” ซุนกวนก็เห็นด้วยสรรเสริญขงเบ้งว่า “…ท่านว่าทั้งนี้ก็เห็นว่าเมตตาเราจริง ดุจจูงมือเราออกมาจากที่มืดมาสู่ที่สว่าง อันอุบายของท่านบอกให้ประการใดนั้น เราก็จะทำตามทุกประการ…” ทั้งยังได้ใช้ให้โลซกไปบอกกับที่ปรึกษาทั้งปวงของตนว่า “…บัดนี้เราจัดแจงกองทัพไว้ให้พร้อม ถ้าโจโฉยกมาก็จะต่อสู้…”

ฝ่ายเตียวเจียวและที่ปรึกษาทั้งปวงของซุนกวนก็ได้ชวนกันห้ามซุนกวนไว้ว่า “…ควรแล้วหรือจะองอาจต่อสู้ด้วยโจโฉ ดุจแมลงหวี่อันจะต่อสู้ด้วยช้างสาร เหมือนแบกเอาฟางไปทุ่มเข้าที่กองเพลิง ก็จะเป็นอันตรายเพราะท่านเชื่อฟังคำขงเบ้ง…” พอได้ยินเช่นนั้นซุนกวนก็เริ่มลังเลอีกครั้งและบอกกับที่ปรึกษาทั้งปวงของตน ว่า “ท่านจงกลับออกไปก่อนเถิดเราจะตรึกตรองดูก่อน”

กระทั่งได้พูดคุยกับจิวยี่แม่ทัพใหญ่ซุนกวนก็เห็นด้วยกับจิวยี่ในเรื่องการ ประกาศสงครามจึง ชักกระบี่แล้วฟันลงที่มุมโต๊ะประกาศเป็นอาชญาสิทธิ์ไว้ว่า “ผู้ใดจะมาว่าให้เราไปคำนับโจโฉก็จะตัดศีรษะเสีย ทำดังนั้นแล้วก็ยื่นกระบี่มอบให้แก่จิวยี่เป็นแม่ทัพหลวง…” ให้เตรียมยกกองทัพไปทำสงครามต่อสู้กับฝ่ายโจโฉแล้วก็ตาม

ทว่าขงเบ้งซึ่งมองเห็นความรวนเรที่แฝงอยู่ในความกร้าวแกร่งของซุนกวนจึงได้ บอกให้จิวยี่ไปปลอบใจซุนกวนให้หายกลัวกองทัพฝ่ายโจโฉ จิวยี่จึงไปเจรจากับซุนกวนอีกครั้ง ซุนกวนก็ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่เด็ดขาดและการขาดความแน่นอนในการตัดสินใจ ของตน โดยบอกกับจิวยี่ นายทหารของตนว่า “…ซึ่งกลับมาถามเราทั้งนี้ดีอยู่แล้ว เราก็ยังมีความวิตกอยู่หน่อยหนึ่ง…กลัวจะสู้มิได้จะเสียการไป…”

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นภาวะผู้นำของซุนกวนที่ไม่แน่นอน แม้จะประกาศแต่งตั้งแม่ทัพใหญ่แต่ก็ยังหวาดวิตกและกังวลใจอย่างเห็นได้ชัด แต่หากวิเคราะห์ภาวะผู้นำของซุนกวนจะพบว่าความไม่เด็ดขาดดังกล่าวเกิดจากการ อ่อนประสบการณ์ทางการเมืองและการทหารของซุนกวนซึ่งอายุยังน้อย เมื่อต้องประสบกับภาวะกดดันที่หนักหน่วงทำให้การตัดสินใจของเขาค่อนข้างจะ โลเลและไม่หนักแน่นแต่เมื่อจิวยี่และขงเบ้งต่างออกหน้าช่วยกันสนับสนุนความ คิดของซุนกวนจึงทำให้เขากล้าแสดงออกซึ่งจุดยืนแม้ว่าจะยังรู้สึกโลเลอยู่ บ้างตามประสบการณ์ที่ยังน้อย

ทว่าหลังจากศึกเช็กเพ็กก็ทำให้ภาวะผู้นำของซุนกวนเติบโตมากยิ่งขึ้น ประสบการณ์นี้หล่อหลอมการเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leadership) ให้กับเขา ทำให้ซุนกวนกล้าที่จะตัดสินใจทำด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอการสนับสนุนจากใครทั้ง ยังทำให้เขามั่นใจบุคลากรในองค์กรเพราะเชื่อว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีความ สามารถสูงและถ้าเปิดโอกาสให้กับบุคลากรเหล่านี้ได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ย่อม เกิดผลดีต่ออาณาจักรง่อก๊ก

จบตอนที่ 3

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *