การใช้คนของซุนกวน (4)
2).การบริหารคน
การบริหารคนของง่อก๊กมีลักษณะที่โดดเด่นในเรื่องการเปิดกว้างให้คนรุ่นใหม่ ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะซุนกวนเป็นเจ้านายประเภท ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leadership) หรือเจ้านายที่ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาเพราะเชื่อว่าทุกคนมีความ สามารถฉะนั้นการทำงานของซุนกวนจะเน้นการมีส่วนร่วมของทีมงานทำให้ต้องดึงเอา ศักยภาพของบุคลากรในองค์กรแต่ละคนออกมาเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่วางเอาไว้ โดยการมอบอำนาจและการตัดสินใจให้กับบุคคลากรระดับผู้นำดำเนินการแทนตน
แนวทางของซุนกวนสอดคล้องกับการบริหารงานแนวใหม่ที่เน้นการกระจายอำนาจ มอบอำนาจให้แก่พนักงานมากขึ้นกว่าเดิมโดยฝ่ายบริหารจะมอบอำนาจในการตัดสินใจ การทำงาน การคิดเอง ตลอดจนการให้ทรัพยากรต่างๆ เช่นเครื่องมือ งบประมาณ และบุคลากร เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานซึ่งจะนำมาสู่การแสดงศักยภาพของบุคลากร ได้อย่างเต็มที่
จากการค้นคว้าพบว่าประเพณีสงครามโบราณของจีนส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลของซุน หวู่ผู้รจนาพิชัยสงคราม 13 บทโดยเฉพาะเรื่องของแม่ทัพโดยกล่าวไว้ว่า “โองการบางอย่างไม่รับ” หมายความว่าแม่ทัพอยู่แนวหน้าไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามพระบรมราชโองการของ กษัตริย์เพราะพระองค์ไม่มีทางที่จะล่วงรู้สถานการณ์แนวหน้าได้ดีเท่ากับแม่ ทัพที่อยู่ในสมรภูมิ อำนาจการตัดสินใจย่อมเป็นสิทธิ์ขาดของแม่ทัพ
ด้วยแนวคิดนี้ทำให้โจโฉจึงต้องออกรบเองเนื่องจากเขาเป็นคนขี้ระแวงไม่กล้า ที่จะมอบอำนาจทางการทหารไว้กับคนอื่น เล่าปี่ในช่วงเริ่มต้นก็เช่นเดียวกันทำให้ทั้งสองต้องเหน็ดเหนื่อยในการกรำ ศึกอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ทว่าสำหรับซุนกวนเจ้าเมืองกังตั๋งหรือง่อก๊ก ไม่ได้คิดเช่นนั้นเพราะมรดกทางความคิดที่เขาได้จากซุนเซ็กในเรื่องการใช้คน ที่ว่า “ถ้าระแวงอย่าใช้ ถ้าใช้อย่าระแวง” ฉะนั้นการจะใช้ใครก็ย่อมต้องมอบอำนาจการตัดสินใจให้กับคนผู้นั้นด้วยเพราะ หากไม่ทำเช่นนั้น บุคลากรผู้นั้นย่อมยากที่จะแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่
การกระจายอำนาจนี้มีผลต่อการบริหารคนของซุนกวนมากและด้วยเทคนนี้ทำให้กัง ตั๋งสามารถผ่านวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ได้ 2 ครั้ง ได้แก่ศึกเช็กเพ็กที่โจโฉยกทัพร้อยหมื่นหมายรวมกังตั๋ง ,ศึกอิเหลงที่เล่าปี่ยกทัพ 75 หมื่นมาล้างแค้นให้กวนอู
ศึกทั้งสามครั้งล้วนยิ่งใหญ่มากและเกินกว่าความสามารถของซุนกวนในการ บัญชาการรบทำให้เขาจำเป็นที่จะต้องมอบหมายภารกิจสำคัญนี้ให้กับคนเก่งที่ไว้ ใจได้เป็นผู้ดำเนินการซึ่งศึกแรก ซุนกวนเลือกจิวยี่และแต่งตั้งให้เขาเป็นแม่ทัพใหญ่ มีสิทธิ์ขาดในการศึกทุกอย่างเคลื่อนพลไม่ต้องรายงาน ประหารชีวิตนายทหารไม่ต้องมีฎีกา
ด้วยความสามารถของจิวยี่และการกระจายอำนาจของซุนกวน ทำให้จิวยี่าสามารถหลอมรวมความสามารถบุคลากรทุกรุ่นนับตั้งแต่รุ่นซุนเกี๋ยน อย่าง เทียเภา, ฮันต๋ง, อุยกาย หรือรุ่นซุนเซ็ก เช่น ไทสูจู้ ,จิวขิม,จิวท่าย ฯลฯ และบุคลากรรุ่นใหม่เช่น ลิบอง,กำเหลง ,เล่งทอง , ลกซุน,ชีเซ่ง ,เตงฮอง ให้สามารถร่วมงานกันได้อย่างกลมกลืน แม้ว่าเบื่องต้นจะมีความขัดแย้งกันระหว่างฮันต๋งกับจิวยี่ ในเรื่องอาวุโสในกองทัพแต่สุดท้ายจิวยี่ก็แสดงความสามารถให้ฮันต๋งประจักษ์ จนต้องยอมรับว่าคลื่นลูกหลังมาแรงกว่า
ในศึกนี้เป็นการทำงานประสานกันทั้งขุนนางอาวุโสและขุนนางรุ่นใหม่ทั้งฝ่าย ทหารและฝ่ายพลเรือน จิวยี่ตบตาสายลับของโจโฉด้วยการสั่งลงโทษอุยกายขุนพลอาวุโสด้วยการโบยร้อย ครั้งเพื่อทำให้โจโฉตายใจรับอุยกายมาเป็นพวก นอกจากนี้จิวยี่ยังส่งบังทองเข้าไปลวงโจโฉให้ผูกเรือติดกัน สุดท้ายกองทัพร้อยหมื่นของโจโฉก็ต้องพ่ายแพ้ต่อกลไส้ศึกของจิวยี่และการร่วม มือร่วมใจของกองทัพกังตั๋ง
ส่วนศึกอิเหลงเกิดภายหลังจากกวนอูเสียชีวิตสามปี พระเจ้าเล่าปี่ยกทัพมา 75 หมื่นหวังที่จะยึดแผ่นดินกังตั๋งและสังหารซุนกวนล้างแค้นให้กวนอู เบื้องต้นกองทัพง่อก๊ก(กังตั๋ง) ยกทัพไปสกัดการบุกของกองทัพจ๊กก๊ก(เมืองเสฉวน) ยิ่งรบก็ยิ่งแพ้ สถานการณ์แนวหน้าอยู่ในสภาวะวิกฤต ซุนกวนเองก็จนใจไม่รู้จะแต่งตั้งใครเป็นแม่ทัพใหญ่ออกศึกครั้งนี้
งำเต็ก ขุนนางฝ่ายพลเรือนเห็นเช่นนั้นจึงเสนอชื่อลกซุนซึ่งเป็นขุนพลหนุ่มที่ยัง ด้อยบารมี ให้ซุนกวนพิจารณาเมื่อซุนกวนได้ยินชื่อลกซุน ซึ่งเคยมีผลงานในการยึดเกงจิ๋วร่วมกับลิบองและจับเป็นกวนอูได้อย่างยอด เยี่ยมจึงตัดสินใจที่จะเลือกขุนพลหนุ่มผู้นี้แต่เหล่าขุนนางอาวุโสนำโดย เตียวเจียวก็คัดค้านโดยให้เหตุผลในเรื่องอายุ ประสบการณ์ บารมี
ทว่างำเต็กก็ยืนกรานให้ซุนกวนเลือกลกซุนทำการใหญ่ครั้งนี้โดยเอาชีวิตของ ครอบครัวตนเองเป็นเดิมพันหากลกซุนพ่ายแพ้ในศึกนี้ ซุนกวนซึ่งมีใจต้องการเลือกลกซุนอยู่แล้วเมื่อเห็นงำเต็กแสดงจุดยืนเพื่อ ชาติ ซุนกวนจึงประกาศแต่งตั้งลกซุนซึ่งในขณะนั้นเขากำลังคุมกองทัพอยู่ที่เมือเก งจิ๋ว เมื่อมาถึงลกซุนจึงแจ้งกับซุนกวนว่าถ้าต้องการให้เขาเป็นแม่ทัพใหญ่ ซุนกวนต้องแต่งทำพิธีมอบกระบี่อาญาสิทธิ์แต่งตั้งเขาเป็นแม่ทัพใหญ่อย่าง เป็นทางการ
นั่นหมายความว่าจากนี้ไปสิทธิ์ขาดในการบริหารงานกองทัพย่อมอยู่ในอำนาจ สิทธิ์ของลกซุน การกระทำใดๆของลกซุนย่อมไม่ต่างกับการตัดสินใจของซุนกวน ฉะนั้นลกซุนจึงไม่ใช่แค่เป็นแม่ทัพใหญ่แต่ยังเป็นตัวแทนของซุนกวนในการแสดง พลังอำนาจได้อย่างเต็มที่
เมื่อเสร็จพิธีการลกซุนจึงเร่งนำกองทัพสนับสนุนไปยังแนวหน้า ประกาศห้ามออกศึกเน้นตั้งรับอย่างเดียว สร้างความไม่พอใจให้กับแม่ทัพนายกองคนอื่นๆ แต่ลกซุนก็ประกาศว่าหากใครจะออกรบย่อมถือว่าฝืนอัยการศึกลงโทษประหารชีวิต ทำให้ทุกคนต้องก้มหน้าไม่กล้าขัดขืนแต่ในใจก็ยังไม่ยอมรับลกซุน
กระทั่งลกซุนแสดงความสามารถในการอ่านแผนกลยุทธ์เล่าปี่ ทำให้เหล่าขุนพลยอมรับในสติปัญญาของแม่ทัพใหญ่และเมื่อเล่าปี่ย้ายที่ตั้ง ค่ายใหม่ไปอยู่ในป่าเป็นแนวยาวหลายลี้ ลกซุนเห็นสบโอกาสจึงเผาค่าย ทำให้กองทัพ 75 หมื่นต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ทำให้แม่ทัพนายกองอาวุโสทุกคนยอมรับในความสามารถของลกซุน
จากนั้นพระเจ้าโจผีแห่งวุยก๊กมีบัญชาเคลื่อน 3 กองพลบุกกังตั๋งระหว่างลกซุนยกทัพบุกเมือง เสฉวนแต่ลกซุนอ่านใจพระเจ้าโจผีออกจึงรีบยกทัพกลับมาตั้งรับและทำลายกองทัพ ทั้งสามจนสามทหารเอกของพระเจ้าโจผีต้องถอยทัพ ผลงานทั้งสองศึกในครั้งนี้นับว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ของลกซุนแต่ก็สะท้อน ถึงความสามารถในการใช้คนของซุนกวนได้เป็นอย่างดี
จบตอนที่ 4