ตั้งคำถามตัดทางถอย เกียงอุยอ่านใจจงโฮย (2) : ฝ่ายสุมาเจียวตั้งกองทัพอยู่ที่เตียงฮัน ก็ส่งจดหมายมาถึงจงโฮยโดยมีใจความว่า หวั่นเกรงจงโฮยจะไม่สะดวกในการกำจัดเตงงายจึงได้ยกกองทัพมาตั้งรอที่เมือง เตียงฮัน หากมีเหตุอันใดก็ขอให้บอกทางทัพหลวงยินดีที่จะยกทัพไปช่วย
จงโฮยได้อ่านจดหมายก็เห็นถึงความผิดปกติหลายจุดจึงบอกกับเกียงอุยว่า “กองทัพของเรามีมากกว่าเตงงาย 2-3 เท่า(บางฉบับกล่าวว่ามีมากกว่าถึง 6 เท่า) ทำไมสุมาเจียวจึงทัพหลวงมาหนุนด้านหลังนั่นหมายความว่าสุมาเจียวคงไม่ไว้ใจ เราจึงได้ยกทหารออกมากำกับด้านหลังท่านคิดตรงกับที่เราคิดหรือไม่” ได้ฟังเช่นนั้นเกียงอุยจึงถือโอกาสใส่ไฟโดยกล่าวว่า “ท่านกริ่งเกรงใจทั้งนี้ก็สมควร ข้าพเจ้าเห็นว่าอันธรรมดานายมีความสงสัยในตัวบ่าว อันตรายนั้นก็ย่อมที่จะต้องปรากฎต่อบ่าวเป็นมั่นคง เตงงายก็เป็นตัวอย่างให้เห็น ฉะนั้นขอให้ท่านไตร่ตรองให้ดีว่าจะทำการสิ่งใด”
สำหรับจงโฮยซึ่งมีใจคิดกำเริบเสิบสานเมื่อได้แรงยุจากเกียงอุยก็เสมือนหนึ่ง น้ำมันที่ราดบนกองเพลิงจึงตอบกลับเกียงอุยไปว่า “ที่ท่านกล่าวนั้นก็ถูกตัวเราก็วิตกอยู่ ฉะนั้นจะมานิ่งรอความตายไปทำไม เราก็จะคิดทำการต่อไปตั้งตัวให้ได้ แม้เดชะวาสนาก็จะได้ราชสมบัติ ถ้ามิสำเร็จเหมือนคิดก็จะกลับเจ้าตั้งอยู่ในเมืองเสฉวนอย่างเล่าปี่ในอดีตจะ ไม่ได้เชียวหรือ”
ความสำเร็จในการยุให้จงโฮยเป็นกบฎต่อสุมาเจียวนับว่าลึกล้ำมากทีเดียว ความสำเร็จดังกล่าวมีรากฐานมาจากยุทธวิธีการอ่านใจของเกียงอุยจึงทำให้การ กำหนดกรอบการเจรจาไม่คลาดเคลื่อนและถูกต้องแม่นยำตรงเป้าหมายชนิดที่ว่า “โดนใจ” จงโฮยแทบทุกประโยค
หลายคนอาจจะมองว่าการอ่านใจจงโฮยนั้นเป็นแค่การโยนหินถามทางทว่าแท้ที่จริง นับเป็นกลยุทธ์ที่เหนือชั้นมากเนื่องจากจงโฮยผู้นี้เป็นคนฉลาดมากเล่ห์และ เหลี่ยมจัดฉะนั้นการอ่านใจคนประเภทนี้จะใช้ยุทธวิธีธรรมดาคงเป็นเรื่องยาก ที่จะสำเร็จหรืออาจจะถูก “วางแผนซ้อนแผน” ทำให้ได้ข้อมูลที่ผิดพลาด
สำหรับเกียงอุยแล้วสิ่งเหล่านี้เขาย่อมรู้ดีแต่จำเป็นที่จะต้องเข้า สวามิภักดิ์กับจงโฮยด้วยเงื่อนไขทางการเมืองเพื่อที่จะบ่อนทำลายกองทัพของ วุยก๊กให้ล่มสลายฉะนั้นการเสนอแผนแต่ละครั้งต้องไม่เผยพิรุธและต้องมั่นใจ ว่าสิ่งที่เขาเสนอนั้นถูกใจคนมากเล่ห์อย่างจงโฮย
ทว่าการที่จะทำให้คนอย่างจงโฮยมั่นใจในแผนการต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการอ่านใจของจงโฮยให้ทะลุเพื่อแสวงหาความต้องการที่แท้ จริงของแม่ทัพใหญ่ผู้นี้ว่าเป็นเช่นไรและจากการร่วมงานกับจงโฮยในการพิชิต นายพลเตงงายผู้เก่งกล้าอย่างรวดเร็วและง่ายดายปานพลิกฝ่ามือก็ทำให้เกียงอุย รู้ว่าแท้ที่จริงจงโฮยก็คือความต้องการอยากเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ถ้าเรานำทฤษฎีของมาสโลว์มาจับจะพบว่าสอดคล้องกับทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ ในเรื่อง “ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์” (Maslow’s hierarchy of needs) ซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภทคือ
ระดับที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐานเบื้องต้น อันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการดำรงชีพของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร น้ำ อากาศ การพักผ่อนหลับนอน และความต้องการทางเพศ เป็นต้น ความต้องการเหล่านี้จะต้องได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจก่อนความต้องการใน ระดับสูงขึ้นจึงจะเกิดขึ้น
ระดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายหลังจากความต้องการในระดับที่ 1 ได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้วและมีความรู้สึกอิสระไม่ต้องเป็นห่วง กังวลกับความต้องการทางด้านร่างกายอีกต่อไป ความต้องการความปลอดภัยจึงเกิดขึ้น
ระดับที่ 3 ความต้องการทางสังคม (Social needs) บางครั้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ” (love and belongingness) เป็นความต้องการที่จะมีความรักความผูกพันกับผู้อื่น เช่น ความรักจากเพื่อน เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว หรือคนรัก เป็นต้น ซึ่งความรักดังกล่าวนี้มีความหมายรวมถึงทั้งการให้และการรับความรักด้วย
ระดับที่ 4 ความต้องการมีเกียรติยศมีศักดิ์ศรีในสังคม (esteem needs หรือ egoistic needs) เป็นความต้องการที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของตนเองว่าตนเองมีประโยชน์มีคุณ ค่า และต้องการให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของตน ยอมรับนับถือยกย่องตนว่าเป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ และมีศักดิ์ศรีด้วย
ระดับที่ 5 ความต้องการสมหวังในชีวิต (self-actualization หรือ self-fulfillment needs) เป็นความต้องการขั้นสูงสุดที่บุคคลปรารถนาที่จะได้รับผลสำเร็จในสิ่งที่ตน คิด และตั้งความหวังไว้ ซึ่งแต่ละคนต่างตั้งความมุ่งหวังของตนเองไว้แตกต่างกัน จึงยากที่จะให้คำนิยามได้ แต่หากจะกล่าวง่ายๆ ก็อาจจะกล่าวได้ว่า ความต้องการนี้เป็นความต้องการ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดที่ได้ตั้งความหวังไว้
สำหรบจงโฮยอยู่ในระดับที่ 5 เพราะเขาประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับระดับที่ 4 จากการพิชิตนายพลเตงงายและเข้ายึดเสฉวนเป็นของตนเองหรือถ้าจะใช้ทฤษฎีการจูง ใจทางความสำเร็จของ David C. McClelland ซึ่งได้เขา (David C. McClelland) ได้สรุปความต้องการของคนออกเป็น 3 ประการคือ ความต้องการด้านความสำเร็จ,ความต้องการอำนาจและความต้องการมีสายสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะของจงโฮยสอดคล้องกับบุคคลที่ต้องการอำนาจโดยลักษณะของบุคคลประเภท นี้จะเป็นคนที่ต้องการมีอำนาจเหนือบุคคลอื่นและมุ่งพยายามแสดงออกเพื่อมี อำนาจควบคุมเหนือทรัพย์สิน สิ่งของและสังคม ซึ่งบุคคลประเภทนี้จะชื่นชมต่ออำนาจและจะใช้อำนาจในการสร้างอิทธิพลเหนือผู้ อื่นเพื่อให้เกิดการยอมรับนับถือ