ราชวงศ์จิ้นตะวันออก

ราชวงศ์จิ้นตะวันออก

ราชวงศ์จิ้นตะวันออก
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก

ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ราชวงศ์จิ้นตะวันออกก่อตั้งขึ้นหลังจากการอพยพหนีสงครามจากทางภาคเหนือโยก ย้ายราชธานีของเหล่าข้าราชสำนักจิ้นลงสู่ภาคใต้ ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก โดยที่บุคค,ชั้นสูง ขุนนางผู้ใหญ่ และเหล่าคหบดีใหญ่ทางภาคใต้ของจีนได้ทำการยก ซือหม่าลุ่ยขึ้นเป็นฮ่องเต้แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันออก โดยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเจี้ยนคังหรือเจียงหนัน (นานกิง) ซึ่งแม้ว่าจะยังคงนับเนื่องเป็นราชวงศ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์โบราณของจีน แต่แท้จริงแล้ว ขอบข่ายอำนาจการปกครองเพียงสามารถครอบคลุมดินแดนทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียง เท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ บ้านเมืองทางตอนเหนือระส่ำระสายไปด้วยไฟสงครามการแย่งชิงของแว่นแคว้นต่าง ๆ ภายใต้การนำของกลุ่มชนเผ่าจากนอกด่าน รวมทั้งชาวฮั่นเอง สถานการณ์ความแตกแยกนี้ ยังคงดำเนินไปท่ามกลางการผลุดขึ้นและล่มสลายลงของราชวงศ์จิ้นตะวันออก จวบจนถึงยุคแห่งการตั้งประจันของราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งกินเวลากว่า 300 ปี

แต่ในช่วงนั้นประมุขของชนเผ่าต่างๆ ทางภาคเหนือได้สร้างประเทศขึ้นมากมายในระยะเวลา 130 ปี ถ้ารวมไปถึงแค้วนเฉิงฮั่นที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแล้ว ทางเหนือมีทั้งหมด 16 แคว้น ในช่วงนี้ประชาชนจากชนเผ่าต่างๆ กลมกลืนอยู่ด้วยกัน จึงเป็นยุครวมชนเผ่าครั้งใหญ่ครั้งแรกที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีน

วัฒนธรรมสมัยสามก๊กและสมัยราชวงศ์จิ้น

เนื่องจากราชวงศ์จิ้นตะวันออกย้ายเมืองหลวงมายังเจี้ยนคัง (เจียงหนัน) ทางตอนใต้ เปิดโอกาสให้บรรดานักปราชญ์ผู้มีความรู้จำนวนมากเดินทางอพยพมาด้วย ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับคนทางใต้มากขึ้น เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมและสังคมประเพณี รวมทั้งงานฝีมือของทางเหนือและใต้ก็มีการผสมผสานกลมกลืนกัน ทำให้งานฝีมือในยุคจิ้นตะวันออกมีความก้าวหน้าก้าวใหญ่ นอกจากนี้ นับแต่ราชวงศ์วุ่ย ของโจโฉจากยุคสามก๊กเป็นต้นมา ประเทศจีนได้มีวิวัฒนาการด้านตัวอักษรอย่างก้าวกระโดด เมื่อถึงยุคจิ้นตะวันออก จึงกำเนิดปราชญ์ กวีและนักเขียนพู่กันจีนที่มีชื่อมากมาย อาทิ หวังซีจือ เซี่ยหลิงยุ่นว์ เถาหยวนหมิง เป็นต้น ได้มีการปฏิรูปรูปแบบการเขียนกาพย์กลอนครั้งใหญ่ วางรากฐานให้กับการวิวัฒนาการสู่ยุคทองของวรรณคดีจีนในสมัยราชวงศ์สุยและถัง ในเวลาต่อมา

ก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับอักษรเจี๋ยกู่เหวินกันมาแล้ว แต่ทำไมตัวอักษรจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้จึงไม่เหมือนกับตัวอักษรเจี๋ยกู่ เหวินเลย ? สาเหตุมาจากตัวอักษรจีนได้รับการปฏิรูป และพัฒนามาแล้วหลายครั้ง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กล่าวโดยร่วมมีการปฏิรูปอักษรจีนมาแล้ว 7 ครั้งด้วยกัน

• ตัวอักษรเจี๋ยกู่เหวิน เป็นตัวอักษรที่มีการสลักเอาไว้บนกระดูกสัตว์และกระดองเต่า (สมัยราชวงศ์เซี่ยและซาง)

• ตัวอักษรโลหะ เป็นตัวอักษรจีนที่หลอมบนเครื่องใช้โลหะ (สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก)

• ตัวอักษรจ้วนซู เป็นตัวอักษรจีนที่เน้นความสวยงาม แต่มีความยุ่งยากในการเขียน (สมัยราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น)

• ตัวอักษรลี่ซูเป็นตัวอักษรจีนที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรจ้วนซู (สมัยราชวงศ์ฉินและฮั่น)

• ตัวอักษรเฉ่าซู (ตัวหวัด) เป็นตัวอักษรที่อ่านยาก (สมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา)

• ตัวอักษรสิงซู เป็นตัวอักษรจีนที่สวยงาม เขียนง่าย และอ่านเข้าใจง่าย (สมัยราชวงศ์จิ้น และสมัยหนันเป่ยเฉา)

• ตัวอักษรไข่ซู เป็นตัวอักษรจีนที่บรรจงที่สุด (สมัยราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถัง)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *