ราชวงศ์ซาง

ราชวงศ์ซาง

ราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์ซาง

ราชวงศ์ซาง (1700-1027 ก่อนคริสตกาล) ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ หรือประชาชน ในฐานะที่เป็นมนุษย์เช่นเดียวกันก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดได้ ถ้าคนธรรมดาผิดพลาดอย่างมากก็แค่ทำให้ตนเองหรือคนบางคนเสียหาย แต่หากกษัตริย์ทำผิดจะทำให้ประชาชนและประเทศเสียหาย ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์จีนหลายพันปีที่ผ่านมา กษัตริย์ที่ทำให้บ้านเมืองและประชาชนเสียหายมีจำนวนไม่น้อย กษัตริย์ที่ไม่สร้างคุณูปการใดๆ เลยมีจำนวนมากยิ่งกว่า ส่วนกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถกลับหาได้ยากยิ่ง มีเรื่องที่น่าสังเกตเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนก็คือ กษัตริย์องค์สุดท้ายของทุกๆ ราชวงศ์มักจะเป็นกษัตริย์ที่ไร้คุณธรรมและโหดเหี้ยม ส่วนปฐมกษัตริย์ของแต่ละราชวงศ์ก็จะเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง อย่างเช่น พระเจ้าทังแห่งราชวงศ์ซัง (ซาง) ที่ได้ทำการโค่นล้มพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ย พระเจ้าเหวินหวังแห่งราชวงศ์โจวโค่นล้มพระเจ้าโจ้วแห่งราชวงศ์ซัง (ซาง) แต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น การสร้างราชวงศ์ใหม่นั้นมักจะใช้วิธีการทำสงครามเสมอ

ในสมัยซัง (ซาง) ได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ ฟ้า ‘ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่ขุดพบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ ซังทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เซี่ยนั้นจึงมีคำ กล่าวว่า “ เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์ ”

เมื่อราชวงศ์ซัง (ซาง) สืบทอดอำนาจแทนราชวงศ์เซี่ยแล้ว ก็ถือเป็นยุคสมัยที่สองของประเทศจีนที่มีสืบทอดอำนาจแบบสันตติวงศ์ จากสมัยของรัชสมัยไท่อี่ หรือซังทัง จนถึง ตี้ซิ่ง หรือซังโจ้ว ทั้งสิ้น 17 รุ่น 31 รัชกาล รวมระยะเวลา 496 ปี

หลังจากที่ซังทังก่อตั้งประเทศแล้ว เนื่องจากได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์เซี่ย จึงเลิกการกดขี่บังคับราษฎรเช่นอย่างในสมัยของเซี่ยเจี๋ย โดยหันมาใช้หลักเมตตาธรรมในการปกครอง ทำให้การเมืองภายในของราชวงศ์ซัง (ซาง) ค่อนข้างเป็นไปด้วยดี ไม่ค่อยมีความขัดแย้ง สภาพทางการเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพ กำลังทหารก็เข้มแข็งมากขึ้น จึงเริ่มทำสงครามกับแว่นแคว้นรอบนอก ซึ่งโดยมากก็ประสบชัยชนะ ดังในบันทึกของเมิ่งจื่อ เมธีแห่งสำนักปรัชญาของขงจื้อ ระบุไว้ว่า ‘ ทังสู่สนามรบโดยไร้ผู้ต่อต้าน ‘ สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้การปกครองของซางทัง จีนได้กลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งทางการทหาร

ในรัชสมัยของซังทังผู้ปกครองพระองค์แรก มีเสนาบดีที่ฉลาดปราดเปรื่องคอยช่วยเหลืออยู่ถึง 2 คน ได้แก่ อีหยิ่น และจ้งฮุย จากหลักฐานบันทึกว่า พวกเขาทั้งสองมีบทบาททางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดินไม่น้อยทีเดียว โดยหลังจากพวกเขาดำรงตำแหน่งเสนาบดีซ้ายขวาแล้ว ก็มีผลงานดีเด่นในการบริหารบ้านเมือง รักษาความสงบ และพัฒนาการผลิต เป็นต้น หลังจากจ้งฮุยเสียชีวิต บทบาททางการเมืองของอีหยิ่นก็ยิ่งโดดเด่นมากขึ้น จนกลายเป็นเสนาบดีเก่าแก่คนสำคัญในรัชสมัยซังทังจนถึงไท่เจี่ย

หลังจากซางทังสิ้นพระชนม์ เนื่องจากบุตรชายคนโตไท่ติง ได้เสียชีวิตไปก่อน ดังนั้นราชบัลลังก์จึงตกเป็นของบุตรชายคนรองชื่อไว่ปิ่ง เมื่อไว่ปิ่งเสียชีวิต น้องชายของเขาจงเหยิน ก็สืบตำแหน่งต่อมา เมื่อจงเหยินสิ้นชีวิตลง ราชบัลลังก์ก็ส่งผ่านไปยังบุตรชายของไท่ติง อันได้แก่ ไท่เจี่ย ซึ่งก็ถือว่าเป็นรุ่นหลานของซังทัง

จากบันทึกประวัติศาสตร์ว่าด้วยชนเผ่ายิน กล่าวว่า “ ไท่เจี่ยครองราชย์สามปี ไม่อยู่ในธรรม ไม่เคารพกฎของซังทัง จนถูกอีหยิ่นจับคุมขังไว้ในวังถง 3 ปี จึงรู้สำนึกผิด อีหยิ่นจึงเชิญไท่เจี่ยกลับสู่บัลลังก์ จากนั้น ไท่เจี่ยก็ปกครองแผ่นดินด้วยเมตตาธรรม กระทั่งเหล่าขุนนางยอมสยบ ไพร่ฟ้าอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข นี่เป็นเรื่องเล่าที่แสดงว่า อีหยิ่นเป็นผู้ธำรงการปกครองโดยหลักธรรม ทำให้ราชวงศ์ซัง (ซาง) สามารถปกครองแผ่นดินด้วยความสงบร่มเย็นมาเป็นเวลานาน และได้กลายเป็นเรื่องเล่าขานต่อมา จนทำให้ชื่อเสียงของอีหยิ่น ได้รับการเชิดชูและนำมาใช้เรียก ผู้ที่มีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงส่ง

ทว่า การปกครองด้วยการแบ่งชนชั้น ย่อมไม่อาจสลายความละโมบในอำนาจและการแก่งแย่งผลประโยชน์ภายในวังหลวงได้ บันทึกประวัติศาสตร์ของชนเผ่ายิน ระบุไว้ว่า “ นับแต่รัชสมัยจ้งติง เป็นต้นมา ผู้ปกครองได้ละทิ้งความชอบธรรม แต่งตั้งเชิดชูแต่พวกพ้อง เหล่าญาติมิตรต่างพากันแบ่งฝักฝ่ายเพื่อแย่งชิงอำนาจ เกิดความวุ่นวายไม่หยุดหย่อน เป็นเหตุให้เหล่าขุนนางกบฏก่อศึกล้มล้างราชบัลลังก์ ”

จากสมัยจ้งติงจนถึงผานเกิง นับได้ 9 ชั่วรุ่น เต็มไปด้วยการแย่งชิงบัลลังก์ภายในราชวงศ์ซัง (ซาง) อันเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ และท่ามกลางความวุ่นวายในช่วงนี้ ก็ได้มีการย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อยครั้ง

มีหลักฐานระบุว่า ในสมัยราชวงศ์ซัง (ซาง) มีการย้ายเมืองหลวงถึง 5 ครั้ง ได้แก่ รัชสมัยจ้งติงย้ายจากเมืองป๋อ ไปเมืองอ๋าว รัชสมัยเหอตั้นเจี่ยย้ายจากอ๋าวไปเมืองเซี่ยง รัชสมัยจู่อี่ย้ายไปเมืองปี้ รัชสมัยหนันเกิงย้ายไปเมืองอั่น และรัชสมัยผานเกิงย้ายจากเมืองอั่นไปเมืองเป่ยเหมิงหรือเมืองยิน

ทว่าในปัจจุบัน นักโบราณคดียังค้นพบหลักฐานยืนยันทางประวัติศาสตร์ของสมัยซัง (ซาง) เพียง4แห่ง ได้แก่ ร่องรอยโบราณสถานเอ้อหลี่โถว ที่เมืองเหยี่ยนซือ เมืองซางโบราณที่เมืองเจิ้นโจวและเมืองเหยี่ยนซือ อีกทั้งซากเมืองยินโบราณที่อันหยางเท่านั้น ร่องรอยของนครโบราณที่ค้นพบมีอาณาบริเวณที่กว้างขวางมาก โดยมีพื้นที่เฉลี่ยมากกว่า 30,0000 – 40,000 ตารางเมตร สำหรับซากทางโบราณคดีที่ขุดพบได้แก่ ร่องรอยของฐานรากพระราชวัง สุสานและโรงงานหัตถกรรม เป็นต้น ในบริเวณซากเมืองโบราณเอ้อหลี่โถว ยังพบร่องรอยพระราชวังครอบคลุมพื้นที่ถึง 10,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ ที่เมืองเหยี่ยนซือและเจิ้งโจวยังค้นพบกำแพงเมืองขนาดใหญ่ สำหรับซากเมืองยินที่เมืองอันหยาง ก็พบลานบูชาเทพเจ้าขนาดมหึมาในบริเวณสุสานกษัตริย์อีกด้วย

ในรัชสมัยของอู่ติง ถือเป็นช่วงเฟื่องฟูของยุคสำริดเลยทีเดียว ได้พบว่ามีร่องรอยการใช้เทคนิคในการแยกหลอมอย่างแพร่หลาย มีการหลอมสร้าง ‘ โอ่วฟางอี๋ ที่เป็นภาชนะใส่เหล้าในสมัยโบราณและ ‘ ติ่ง ‘ ซึ่งมีรูปร่างเป็นหม้อโลหะขนาดใหญ่ มีสามขาใช้ในพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าและใช้แสดงศักดิ์ฐานะทางสังคม ที่เป็นเครื่องใช้โลหะขนาดใหญ่ได้แล้ว

การโยกย้ายนครหลวงของราชวงศ์ซางดังกล่าว ทำให้นักโบราณคดีตั้งข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน ทว่าจากบันทึกซ่างซูในสมัยผานเกิง จะพบว่าการย้ายนครหลวงกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ถึงแม้ว่าในบันทึกผานเกิงได้กล่าวถึงสาเหตุการย้ายเมืองหลวงว่า ‘ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร ‘ ทว่า สำหรับผู้ที่ไม่ยอมฟังคำสั่งแล้วเขาได้กล่าวไว้ว่า ‘ ข้าฯจะประหารให้สิ้น มิให้เชื้อร้ายลามสู่นครหลวงแห่งใหม่ ‘ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงการต่อสู้ภายในที่ดุเดือด หลังจากย้ายนครหลวงมาที่นครยินแล้ว การขัดแย้งภายในราชวังหลวงก็ผ่อนคลายลง จึงเริ่มมีการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้น รัชสมัยของผานเกิงจึงถือเป็นยุคฟื้นฟู และได้วางรากฐานในการเข้าสู่ยุคทองในรัชสมัยอู่ติง

อู่ติงเป็นบุตรของเซี่ยวอี่ ซึ่งเป็นน้องของผานเกิง ดังนั้นอู่ติงจึงเป็นหลานของผานเกิงนั่นเอง เมื่อผานเกิงยังเยาว์วัยนั้น เซี่ยวอี่ผู้เป็นบิดาได้ส่งให้เขาไปใช้ชีวิตอย่างชาวบ้านระยะหนึ่ง ดังนั้น เขาจึงทราบดีถึงความลำบากยากแค้นของชาวบ้านธรรมดา ดังนั้น เมื่อเขาขึ้นสู่อำนาจจึงมุ่งมั่นบริหารแผ่นดินด้วยความยุติธรรม เพื่อให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ในรัชสมัยนี้ อู่ติงได้ยกทัพปราบปรามชนเผ่ารอบข้างไม่น้อย การใช้กำลังทหารมีตั้งแต่การใช้กำลังพลนับพัน จนถึงที่เป็นทัพใหญ่บางครั้งถึงหมื่นคน การปราบปรามครั้งนี้ ราชวงศ์ซางได้ขยายดินแดนออกไปไม่น้อย กวาดต้อนตัวประกันกลับมาจำนวนมาก ดังนั้นจึงพบความหลากหลายทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่จากการขุดพบเป็นจำนวนมาก เช่น จากซากพระราชวัง สุสานและโรงงาน เป็นต้น

การกำเนิดของตัวอักษรจีน

มีหลักฐานที่บ่งชี้แน่ชัดให้เห็นว่าตัวอักษรจีนเริ่มแรกคือ ตัวอักษรเจี๋ยกู่เหวินที่มีอายุประมาณ 3000 – 4000 ปี ซึ่งอยู่ในสมัยราชวงศ์ซัง (ซาง) สาเหตุที่เรียกตัวอักษรเหล่านี้ว่าเจี๋ยกู่เหวิน ก็เพราะว่าอักษรเหล่านี้ได้ถูกสลักเอาไว้บนกระดูกสัตว์และกระดองเต่า

ในปี 1899 ได้มีการค้นพบจารึกอักษรจารบนกระดูก ของสมัยซัง (ซาง)โดยบังเอิญ การค้นพบครั้งนี้ ทำให้ข้อถกเถียงเรื่องการคงอยู่ของราชวงศ์ซาง เป็นที่รับรองโดยทั่วไป และถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซางเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ อีกด้วย สำหรับอักษรจารกว่า 150,000 ชิ้นที่พบบริเวณซากเมืองยินในอันหยางนั้นเนื้อหาประกอบด้วย จารึกเสี่ยงทาย และการบูชาภูตผีเทพเจ้า ซึ่งเป็นบันทึกสภาพสังคมและเรื่องราวต่าง ๆในสมัยราชวงศ์ซัง (ซาง)โดยทั่วไป เมื่อผ่านการเรียบเรียงและทำการศึกษาวิจัยแล้ว พบว่า จารึกเหล่านี้ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในการเปิดเส้นทางการศึกษาประวัติศาสตร์ใน ยุคราชวงศ์ซัง (ซาง)

อักษรเจี๋ยกู่เหวินได้อย่างไรนั้น มีนิทานเล่าว่าในสมัยราชวงศ์ชิง มีชายคนหนึ่งชื่อหวังอี้หลง เป็นปัญญาชนที่มีความรู้มาก มีครั้งหนึ่งเค้าป่วยจึงสั่งให้คนรับใช้ไปซื้อยามาให้ อย่างที่ทราบๆ กันว่ายาจีนชุดหนึ่งจะประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิดนำมาผสมกันแล้วต้มดื่ม หวังอี้หลงเป็นคนที่ช่างสังเกตและชอบศึกษา ทุกครั้งก่อนต้มยาเค้าจะตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีสมุนไพรอะไรบ้าง คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน เค้าบังเอิญตรวจสอบพบเห็บบนเศษกระดูก ซึ่งมีชื่อว่ากระดูกมังกรนั้นมีเครื่องหมายแปลกประหลาดมากมายสลักเอาไว้ เค้าจึงสั่งให้คนรับใช้ไปกว้านซื้อยากระดูกมังกรแบบเดียวกันนี้ที่ร้านขายยา ในเมืองมาทั้งหมด หลังจากนั้นจึงตั้งใจศึกษาต่อไป จนผ่านไปหลายปีก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าเครื่องหมายเหล่านี้คืออะไรกันแน่ แต่สามารถสรุปได้ว่าเครื่องหมายเหล่านี้เป็นตัวอักษรจีนโบราณชนิดหนึ่ง ต่อมาจึงมีคนมากมายศึกษาตัวอักษรโบราณเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีการพบตัวอักษรจีนโบราณเหล่านี้ทั้งหมดเกือบ 3000 ตัว แต่สามารถเข้าใจความหมายได้ประมาณ 1500 ตัว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าตัวอักษรเจี่ยกู่เหวินคือตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดของ จีน

การบูชาเทพเจ้ามีประวัติความเป็นมาอันยาวนานในประเทศจีน ซึ่งนักโบราณคดีต่างก็ได้ค้นพบหลักฐานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สังคมเกษตรกรรมเป็นต้นมา ผู้คนก็พากันร้องขอให้เทพประทานลมฝนที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมาให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดามาก การเซ่นไหว้บรรพบุรุษหรือการนับถือผี ก็มีที่มาจากความต้องการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วในครอบครัว จึงเกิดการสมมติเป็นภาพจากที่เคยพบเห็น ผู้คนเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ก็เพื่ออ้อนวอนขอให้บรรพบุรุษให้ความคุ้มครองปกปักษ์รักษา ในสมัยเซี่ย ได้เริ่มมีการสักการะฟ้าเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในการนับถือศาสนา เนื่องจากผู้ปกครองสูงสุดในขณะนั้น ต้องการปกป้องอำนาจของตน จึงนำการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและลัทธิการบูชาธรรมชาติมารวมกัน เกิดเป็น ‘ ฟ้า ‘ หรือ ‘ ฮ่องเต้ ‘ ซึ่งมีลักษณะของเทพเจ้าขึ้นมา

จากหลักฐานดังกล่าว ได้พบว่า ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ ฟ้า ‘ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่พบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ เซี่ยนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “ เซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงสมควรรับโทษทัณฑ์ ” โดยใช้คำขวัญว่า “ ฟ้ากำหนด ” เพื่อกระตุ้นความฮึกหาญของกองทัพและเหล่าผู้ร่วมสวามิภักดิ์และเป็นการแสวง หาความชอบธรรมเมื่อก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ โดยเชื่อว่า เทพแห่งฟ้า และเทพแห่งดิน หรือซางอ๋อง นั้นเป็นสิ่งคู่กัน เพื่อปฏิบัติภารกิจจากฟ้า เทพแห่งดินจึงต้องใช้พิธีกรรมในการติดต่อกับฟ้า ดังนั้น ขณะที่ซางอ๋องเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้น จึงใช้เครื่องบูชาทั้ง 5 สิ่ง เพื่อทำพิธีที่บริเวณลานเซ่นไหว้ในเขตสุสานหลวงบริเวณเมืองยินหรืออันหยางใน ปัจจุบัน นักโบราณคดีได้ขุดพบร่องรอยการบูชาในหลุมฝังศพนับพันแห่ง และพบว่าในสมัยอู่ติง นั้น ถึงกับมีการใช้คนหลายร้อยคนเป็นเครื่องสังเวยในพิธีบูชาดังกล่าวอีกด้วย ทำให้เห็นว่าในสมัยซางนั้นให้ความสำคัญต่อการเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นอย่างมาก เนื่องจากฮ่องเต้ก็คือเทพเจ้า หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเทพที่เป็นบรรพบุรุษนั่นเอง

หลังจากอู่ติงสิ้นพระชนม์ ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองก็สิ้นสุดลงภายในเวลาไม่นานนัก เมื่อมาถึงรัชสมัยของจู่เกิง และจู่เจี่ย จวบกระทั่งรัชสมัยตี้อี่ และตี้ซิ่ง นั้น ศึกขัดแย้งทางการเมืองภายในก็ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก ขุนนางรอบข้างต่างลุกฮือขึ้นต่อต้าน แม้ว่าต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรงนี้ แต่ซังโจ้ว หรือตี้ซิ่ง กลับไม่คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งใด ทั้งไม่รับฟังคำตักเตือนจากผู้หวังดี ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งยิ่งโหมกระพือความขัดแย้งภายในเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน ก็เปิดศึกกับเผ่าตงอี๋ เพิ่มภาระอันหนักอึ้งให้กับประชาชน และทำให้สูญเสียกำลังทหารภายในประเทศอีกด้วย ดังนั้น เมื่อโจวอู่หวัง ยกทัพเข้ามาประชิดชายแดน ซังโจ้วจึงได้แต่รวบรวมกำลังพล เพื่อออกไปรับศึก ผลสุดท้ายกำลังทหารฝ่ายซัง (ซาง) ขาดกำลังใจในการรบ กลับเป็นฝ่ายยอมแพ้เปิดทางให้กับโจวอู่หวัง เมื่อเห็นดังนั้น ซังโจ้วจึงหอบทรัพย์สมบัติหลบหนีไปยังเมืองลู่ไถ สุดท้ายเสียชีวิตที่นั่น ราชวงศ์ซัง (ซาง) จึงถึงกาลสิ้นสุด.

วัฒนธรรมในราชวงศ์ซาง

ราชวงศ์ซาง เป็นราชวงศ์อันดับที่ 2 ของจีน รวมกับราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์โจวเรียกว่ายุคซานไต้ (ยุค 3 สมัย) ซึ่งนับเป็นยุคที่มีความสำคัญยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน

เมื่อราชวงศ์ซาง ผ่านไปกว่า 400 ปี ด้านการเมือง เศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้ากว่าราชวงศ์เซี่ยเป็นอย่างมาก จากการค้นพบของนักโบราณคดีปรากฏว่าราชวงศ์ซาง ได้พ้นยุคดึกดำบรรพ์แล้ว จากการดำรงชีวิตแบบชนเผ่าเร่ร่อนได้เปลี่ยนมาเป็นการดำรงชีวิตแบบตั้งถิ่น ฐานเป็นหลักเป็นแหล่ง ที่ซากเมืองอินชวู ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของราชวงศ์ซาง ได้มีการค้นพบกระดองเต่าที่ใช้ในการทำนายโชคชะตา เครื่องใช้ทองสำริด และครื่องหยกจำนวนมากมาย เช่นกระถางทองสำริด สือหมู่อู้ ซึ่งถูกค้นพบที่เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน เป็นกระถางทองแดงสำริดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในประเทศจีน แสดงให้เห็นว่าเทคนิคการทำเหมืองแร่และการหลอมโลหะในสมัยนั้นอยู่ในระดับสูง มาก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *