ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960–1279) แผ่นดินภาคกลางปลายยุคอู่ไต้สือกั๋ว ภายหลังโจวซื่อจง แห่งราชวงศ์โฮ่วโจวสิ้น(ราชวงศ์สุดท้ายในห้าราชวงศ์) ภายในราชสำนักอยู่ในภาวะตึงเครียด ภายนอกเผชิญภัยคุกคามจากทัพเหลียว ปี 960 เกิดเหตุเปลี่ยนแปลงที่อำเภอเฉินเฉียว เจ้าควงอิ้น ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพรักษาวังหลวง บัญชาการกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดในเวลานั้น ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายทัพใต้ร่มธง ก่อรัฐประหารบีบให้โจวก้งตี้ วัยเจ็ดขวบสละราชย์ จากนั้นสถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้นแทนที่โฮ่วโจว นักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เป่ยซ่งหรือซ่งเหนือ โดยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองตงจิน (ไคฟง)
ซ่งไท่จู่ เจ้าควงอิ้นขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ก็จัด “ งานเลี้ยงสุราปลดอาวุธ ” สลายกำลังของนายทหารกลุ่มต่างๆที่สนับสนุนตนขึ้นสู่บัลลังก์โดยไม่เสียเลือด เนื้อ ด้วยเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ขึ้นได้อีก ทั้งเล็งเห็นว่าการที่นายทัพคุมกำลังทหารไว้ ย่อมจะมีอำนาจพลิกฟ้าอยู่ในมือ ซ่งไท่จู่จึงใช้วิธีการเดียวกันในการโอนถ่ายอำนาจทางทหารของแม่ทัพรักษาชาย แดนเข้าสู่ส่วนกลาง นอกจากนี้ เพื่อลิดรอนอำนาจขุนนางที่อาจส่งผลคุกคามต่อราชบัลลังก์ในภายภาคหน้า จึงออกกฎระเบียบใหม่ ให้มีเพียงขุนนางระดับสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าเฝ้าเพื่อปรึกษาราชกิจ โดยมีกษัตริย์เป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ขุนนางเป็นเพียงผู้รับไปปฏิบัติ ไม่ได้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาชี้แนะข้อราชการดังเช่นแต่ก่อน นับแต่นั้นมา อำนาจเด็ดขาดทั้งมวลจึงตกอยู่ในมือของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว
เวลานั้น รอบข้างยังประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ สืบเนื่องมาจากสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น อาทิ โฮ่วสู หนันฮั่น หนันถัง อู๋เยว่ เป่ยฮั่น เป็นต้น ดังนั้นภารกิจสำคัญของเจ้าควงอิ้นจึงได้แก่ การเปิดศึกรวมแผ่นดิน ทัพซ่งมุ่งลงใต้ ทยอยรวบรวมดินแดนภาคใต้กลับมาอีกครั้ง หลังจากปราบแคว้นหนันถังอันเข้มแข็งได้สำเร็จในปี 974 แว่นแคว้นที่เหลือต่างทยอยเข้าสวามิภักดิ์กับราชวงศ์ซ่ง ปลายรัชกาล เจ้าควงอิ้นหันทัพมุ่งขึ้นเหนือ หวังรวมแคว้นเป่ยฮั่นที่หลงเหลือเพียงหนึ่งเดียว แต่แล้วสิ้นพระชนม์ลงระหว่างการศึกภาคเหนือในปี 976
ซ่งไท่จง เจ้ากวงอี้ ( ปี 976 – 997) ที่เป็นน้องชายขึ้นสืบราชบัลลังก์ สานต่อปณิธานรวมแผ่นดิน โดยรวมแคว้นเป่ยฮั่นสำเร็จในปี 979 จากนั้นพยายามติดตามทวงคืนดินแดนที่เคยเสียให้กับเหลียว (ปักกิ่งและต้าถง) กองทัพซ่งเหนือเปิดศึกกับเหลียวหลายครั้ง ขณะที่แคว้นเหลียวก็หาโอกาสรุกลงใต้ กลายเป็นสภาพการเผชิญหน้ากัน จวบกระทั่งปี 1004 ล่วงเข้ารัชกาลซ่งเจินจง ซ่งเหนือกับเหลียวบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่ฉานหยวน สงครามอันยาวนานจึงยุติลง
พลิกโฉมการปกครองภายใน
เจ้าควงอิ้นและเจ้ากวงอี้สองพี่น้องที่ได้ผ่านพบความวุ่นวุ่นวายแตกแยกของ บ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากการแย่งชิงอำนาจของเหล่าขุนศึก อีกทั้งประสบการณ์ความพลิกผันทางการเมืองของตน ทราบว่า เป็นเพราะเหล่าขุนศึกมีทั้งกำลังทหารและกำลังทรัพย์อยู่ในมือ ทั้งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อเป็นการลิดรอนอำนาจของเหล่าแม่ทัพรักษาชายแดน ราชสำนักได้จัดส่งขุนนางฝ่ายบุ๋นออกไปทำหน้าที่ปกครองในส่วนท้องถิ่นโดยตรง มีการคัดเลือกทหารฝีมือดีจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลางเพื่อทำหน้าที่กองกำลัง รักษาวังหลวง ทั้งให้มีการสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งประจำการทุกสามปี ส่วนด้านการเงิน ก็กำหนดให้รายรับรายจ่ายของท้องถิ่น(ภาษี เงินปี เบี้ยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ) ต้องจัดรวบรวมและแจกจ่ายจากส่วนกลาง
การปฏิรูปดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างอำนาจการปกครองส่วนกลางให้เข้มแข็งขึ้นอย่างไม่มียุคใด เทียบได้ พร้อมกับได้สลายขุมกำลังท้องถิ่นลงอย่างราบคาบ ตลอดราชวงศ์ไม่มีขุมกำลังอื่นใดในแผ่นดินสามารถท้าทายราชอำนาจของกษัตริย์ ได้อีก อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวส่งผลให้กองทัพอ่อนแอลง ทำให้ราชสำนักซ่งต้องตกเป็นฝ่าย “ ตั้งรับ ” ในยุคสมัยที่รอบข้างเต็มไปด้วยชนเผ่านักรบจากนอกด่านที่ทวีความแข็งกล้าขึ้น ดูจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมนัก
การปฏิรูปที่ไร้ผล
ปี 1022 ซ่งเจินจง ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ ซ่งเหยินจง ( 1022 – 1063) ราชโอรสขึ้นครองราชย์ด้วยวัยเพียง 13 ปี ดังนั้นจึงมีหลิวไทเฮาคอยดูแลให้คำปรึกษาราชกิจ ต่อเมื่อ หลิวไทเฮาสิ้นพระชนม์ในปี 1033 ซ่งเหยินจงจึงเริ่มบริหารราชกิจด้วยตนเอง จากนั้นไม่นาน ราชสำนักซ่งเปิดศึกกับซีเซี่ยอีกครั้ง แต่ทัพซ่งก็ต้องแพ้พ่ายเสียหายกลับมา เป็นเหตุให้ซ่งเหยินจงมีดำริที่จะปรับปรุงกองทัพและการคลังครั้งใหญ่
ปี 1043 ทรงแต่งตั้งฟ่านจ้งเยียน และคณะให้ดำเนินการปฏิรูประบบการปกครองภายใน แต่นโยบายปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนทำให้บรรดาขุนนางและกลุ่มตระกูลสูงศักดิ์ เสียผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดเสียงคัดค้านมากมาย สุดท้าย การปฏิรูปดังกล่าวดำเนินการไปได้เพียงปีเศษก็ต้องล้มเลิกไป คณะทำงานปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนต่างทยอยถูกปลดจากตำแหน่ง
ปลายรัชกาลซ่งเหยินจง หวังอันสือ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งทางราชการไม่นาน ได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปแบบใหม่ โดยเสนอให้เร่งสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ ปรับปรุงระเบียบข้อกำหนดกฎหมาย และจัดการบริหารการคลังเสียใหม่ เป็นต้น แนวคิดของหวังอันสือแม้ว่าจะเป็นที่ชื่นชมอย่างมากในหมู่ปัญญาชน แต่ซ่งเหยินจงไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด
จวบจนปี 1963 ซ่งเหยินจง ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลง ซ่งอิงจง สืบราชบัลลังก์ต่อมาได้เพียง 4 ปี ก็สิ้น โอรสของซ่งอิงจงขึ้นครองราชย์ต่อมาพระนามว่า ซ่งเสินจง โดยมีบทบาทสำคัญในการให้การสนับหนุนแนวคิดการปฏิรูปกฎหมายของหวังอันสือ
ในเวลานั้น ปัญหาความขัดแย้งในสังคมและวิกฤตทางการเงินยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น หน่วยงานราชการของราชสำนักซ่งมีขนาดใหญ่โตขึ้นกว่าเมื่อครั้งต้นราชวงศ์ถึง กว่าสิบเท่า เพียงค่าใช้จ่ายแต่ละปีของกองทัพก็ครอบคลุมรายได้กว่าครึ่งจากท้องพระคลัง ดังนั้น ซ่งเสินจงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็ทรงแต่งตั้งให้หวังอันสือเป็น ผู้นำคณะปฏิรูปกฎหมายการปกครองใหม่
ระเบียบกฎหมายใหม่ของหวังอันสือมุ่งเน้นการเก็บกวาดรายได้จากบรรดาพ่อค้า ข้าราชการ และเจ้าที่ดินเข้าสู่ท้องพระคลัง ลดการผูกขาดอำนาจและอภิสิทธิ์ของกลุ่มตระกูลขุนนางชั้นสูง ขณะที่กลุ่มชาวนาและราษฎรทั่วไปลดภาระในการแบกรับภาษีและการเกณฑ์แรงงาน อีกทั้งมีการปรับปรุงระบบชลประทาน ทำให้กำลังการผลิตของสังคมโดยรวมพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง มีเงินเข้าท้องพระคลังเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระเบียบกฎหมายใหม่ยังต้องเผชิญกับกระแสการคัดค้านจากผู้เสียผลประโยชน์ ภายหลังซ่งเสินจงสิ้นในปี 1085 โอรสวัยสิบขวบขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ซ่งเจ๋อจง มีเกาไทเฮาเป็นที่ปรึกษาราชกิจ ซึ่งให้การสนับสนุนกลุ่มแนวคิดอนุรักษ์แบบเก่านำโดยซือหม่ากวง ไม่นานนัก กลุ่มปฏิรูปของหวังอันสือก็ถูกขับไล่ออกจากศูนย์กลางอำนาจ ระเบียบกฎหมายใหม่ถูกยกเลิกไป การปฏิรูปของหวังอันสือจึงจบสิ้นลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของซ่งเสินจง
ต่อเมื่อเกาไทเฮาสิ้นในปี 1093 ซ่งเจ๋อจงก็หันมาให้การสนับสนุนฝ่ายนำการปฏิรูปอีกครั้ง แต่ภายในกลุ่มปฏิรูปเองเกิดแตกความคิดเห็นเป็นหลายฝ่าย กลายเป็นการแก่งแย่งช่วงชิงคานอำนาจกันเอง จวบจนซ่งเจ๋อจงสิ้นในปี 1100 ซ่งฮุยจง ขึ้นครองราชย์ต่อมา ให้การสนับสนุนกลุ่มขุนนางไช่จิง และพวก ที่แอบอ้างการผลักดันกฎหมายใหม่ มาใช้ในการโกงกินและขยายอำนาจในหมู่พรรคพวกเดียวกัน อันนำมาซึ่งยุคแห่งความมืดมนฟอนเฟะของราชวงศ์ซ่ง
ระบบราชการที่ล้มเหลว เป็นเหตุให้ราษฎรทยอยลุกฮือขึ้นก่อการต่อต้านราชสำนัก อาทิ กบฏฟางล่า (1120) กบฏซ่งเจียง (1118) อันเป็นที่มาของเรื่องราวในตำนาน “ วีรบุรุษเขาเหลียงซาน ” ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดวรรณดีของจีน เป็นต้น แต่สุดท้ายยังคงต้องพ่ายแพ้แก่ราชสำนักซ่งในที่สุด
กำเนิดแคว้นจินกับอวสานของซ่งเหนือ
ในเวลาเดียวกัน สถานการณ์ทางภาคเหนือก็วุ่นวายไม่ต่างกัน ราชสำนักเหลียวเกิดการแตกแยกภายใน ระบบการปกครองล้มเหลว บ้านเมืองอ่อนแอลง กลุ่มชนเผ่าทางเหนือที่เคยถูกกดขี่บีบคั้นต่างลุกฮือขึ้นก่อหวอด ชนเผ่าหนี่ว์เจิน ทางภาคอีสานเริ่มมีกำลังแกร่งกล้าขึ้น
ปี 1115 อากู่ต่า ผู้นำชนเผ่าหนี่ว์เจิน สถาปนาแคว้นต้าจินหรือกิม ที่ฮุ่ยหนิง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเฮยหลงเจียง) ทรงพระนาม จินไท่จู่ จากนั้นกรีฑาทัพบุกแคว้นเหลียว
ฝ่ายซ่งเหนือ เห็นเป็นโอกาสที่จะยึดดินแดน 16 เมืองที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำสัญญาร่วมมือกับแคว้นจินบุกเหลียว โดยซ่งจะส่งบรรณาการที่เคยให้กับเหลียวมามอบให้แคว้นจินแทน เพื่อแลกกับดินแดน 16 เมือง(ปักกิ่ง ต้าถง)ที่สูญเสียไปกลับคืนมา
ซ่งกับจินทำสัญญาร่วมมือกันบุกเหลียว ซ่งรับหน้าที่บุกเมืองเยียนจิง(ปักกิ่ง)และต้าถง ขณะที่จินนำทัพรุกคืบกลืนดินแดนเหลียวที่เหลือ ถงก้วน นำทัพซ่งบุกเมืองเยียนจิงสองครั้งแต่ต้องพ่ายแพ้กลับมาทั้งสองหน สุดท้ายปล่อยให้ทัพจินเป็นฝ่ายบุกเข้ายึดเมืองไว้ได้โดยง่าย ราชสำนักซ่งต้องรับปาก “ ไถ่เมืองคืน ” ด้วยภาษีรายปีที่เก็บได้จากท้องถิ่นเป็นเงินก้อนโต สถานการณ์คราวนี้เป็นเหตุให้ทัพจินเล็งเห็นถึงความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพ ของกองกำลังฝ่ายซ่ง ดังนั้น เมื่อทัพจินล้มล้างเหลียวเป็นผลสำเร็จ ก็เบนเข็มมุ่งมายังซ่งเหนือเป็นลำดับต่อไป
ปี 1125 หลังจากหวันเหยียนเซิ่น ขึ้นครองราชย์เป็นจินไท่จง สืบต่อจากจินไท่จู่ผู้พี่ชายแล้ว ก็นำทัพกวาดล้างแคว้นเหลียวเป็นผลสำเร็จ ทัพจินอ้างเหตุรุกไล่ติดตามตัวนายทัพเหลียว นำทัพล่วงเข้ามาในแดนซ่ง แยกย้ายบุกแดนไท่หยวนและเยียนจิง(ปักกิ่ง) แม่ทัพรักษาเมืองเยียนจิงยอมสวามิภักดิ์ทัพจิน นำทางเคลื่อนทัพรุกประชิดเมืองหลวงไคเฟิง
ซ่งฮุยจงเมื่อได้ทราบข่าวทัพจินเคลื่อนลงใต้ รีบสละบัลลังก์ให้กับรัชทายาทส่วนตัวเองหลบหนีลงใต้ ซ่งชินจง เมื่อขึ้นครองราชย์ ก็เรียกประชุมเสนาบดีคิดหาหนทางแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ กลุ่มขุนนางใหญ่สนับสนุนให้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลี้ภัย ทว่าหลี่กัง อาสาทำหน้าที่รักษาเมืองอย่างแข็งขัน หัวเมืองรอบนอกเมื่อทราบข่าวทัพจินก็รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังต่อต้านการ รุกรานจากภายนอก ทัพจินเมื่อไม่สามารถเอาชัยได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็เริ่มขาดแคลนเสบียง
ในเวลาเดียวกัน ซ่งชินจงแอบทำสัญญาสงบศึกกับทัพจิน โดยยินยอมจ่ายทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล อีกทั้งส่งมอบดินแดนสามเมืองให้เป็นการชดเชย ฝ่ายจินจึงยอมถอนทัพกลับภาคเหนือ ภายหลังวิกฤตหลี่กังถูกปลดจากตำแหน่ง
ราชสำนักซ่งแม้ว่ารับปากส่งมอบเมืองไท่หยวน จงซานและเหอเจียนให้กับแคว้นจิน แต่ราษฎรในท้องถิ่นต่างพากันต่อต้านทัพจินอย่างไม่คิดชีวิต ทัพจินไม่อาจเข้าครอบครองทั้งสามเมืองได้ จึงส่งกองกำลังบุกลงใต้มาอีกครั้ง แต่คราวนี้ ชาวเมืองไท่หยวนที่ยืนหยัดต่อสู้เป็นเวลานาน เกิดขาดแคลนเสบียง จึงต้องเสียเมืองในที่สุด ทัพจินรุกประชิดเมืองไคเฟิงอีกครั้ง ราชสำนักซ่งจัดส่งราชทูตไปเจรจาสงบศึกแต่ไม่เป็นผล ทัพจินบุกเข้าเมืองไคเฟิงกวาดต้อน ซ่งเวยจง ซ่งชินจง และเชื้อพระวงศ์ ไปเป็นเชลย อีกทั้งปล้นสะดมทรัพย์สินในท้องพระคลังไปจนหมดสิ้น ราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย
ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ แม้มีการศึกสงครามประปรายเป็นระยะ แต่เนื่องจากพื้นที่บางส่วนยังมีความสงบสุขอยู่บ้าง ดังนั้น วิทยาการความรู้ การผลิต ยังคงมีความก้าวหน้าอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการพิมพ์ ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นในยุคนี้ นอกจากนี้ ความจำเป็นของการศึกสงคราม ราชสำนักซ่งยังได้มีการผลิตดินปืนขึ้นเพื่อใช้ในการรบเป็นครั้งแรก
ในด้านศิลปะและวรรณคดี ก็มีอัจฉริยะที่โดดเด่นปรากฏขึ้นไม่น้อย บทกวี ในสมัยซ่งได้รับการยอมรับว่า มีความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากระบบการสอบจอหงวนทำให้กลุ่มปัญญาชนได้รับอิสระในการพัฒนาตนเองขึ้น มา อาทิ หวังอันสือ ฟ่านจ้งเยียน ซือหม่ากวง เป็นต้น อีกทั้งยังได้ฝากผลงานภาพวาดฝีมือเยี่ยมไว้มากมายที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก ได้แก่ฝีมือของ ซ่งฮุยจง กษัตริย์องค์ที่แปดแห่งราชวงศ์ซ่ง
นับแต่ ราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์การแบ่งแยกอันยาวนานของจีนในลักษณะนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอีก หลังจากซ่งเหนือถูกล้มล้างโดยราชวงศ์จิน ได้เปิดกระแสการรุกรานจากชนเผ่านอกด่านเข้าครอบครองแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา
เปากง (เปาบุ้นจิ้น)
ต่อต้านข้าราชกาลฉ้อราษฏร์บังหลวง กำจัดอิทธิพลท้องถิ่น เป็นเอกลักษณ์เด่นที่สุดของเปาบุ้นจิ้น และเป็นผลงานที่ลำลือกันในหมู่ประชาชน
ในประวัติศาสตร์จีน เปาบุ้นจิ้นเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ในระยะเวลาสามสิบปีที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ พิพากษา มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกลดยศตำแหน่งปลดออกจากราชการ จนกระทั่งถูกประหารชีวิตไม่ต่ำกว่าสามสิบคน
ดังที่เปาบุ้นจิ้นได้กล่าวไว้ เค้าเกิดในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย ในวันที่มารดาของเปาบุ้นจิ้น คลอดท่านนั้น นางยังต้องไปตัดฟืนในป่า ครั้นเมื่อเปาบุ้นจิ้นอยู่ในวัยหนุ่ม ถึงแม้ว่าจะยังมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ต่อมาท่านได้เข้าสอบจอหงวน แต่ขณะนั้นมารดาท่านได้เสียชีวิตไป และท่านได้ไว้ทุกข์ให้มารดาที่บ้านเป็นเวลานานถึงสิบปี จนกระทั่งอายุได้ 29 ปี จึงไปเข้ารับราชการ เนื่องจากเปาบุ้นจิ้นใช้ชีวิตคลุกคลีกับชาวบ้านเป็นเวลานาน จึงเข้าใจความทุกข์ของชาวบ้านเป็นอย่างดี
ขุนศึกตระกูลหยาง
หากกล่าวถึงราชวงศ์ซ่งแล้ว ก็จะต้องกล่าวถึงขุนศึกตระกูลหยางที่มความองอาจกล้าหาญ และความจงรักภักดีทั้งสามชั่วอายุคน ยากที่จะหาใครมาเปรียบได้
หยางเยี่ย ชื่อเดิม หยางจังกุ้ย เป็นขุนพลของแคว้นเป่ยฮั่น ในยุคอู่ไต้สือกั๋ว สามารถรบชนะข้าศึกแคว้นเหลียวหลายครั้ง เมื่อแคว้นเป่ยฮั่นถูกราชวงศ์ซ่งโค่นล้ม หยางเยี่ยยอมจำนนต่อราชวงศ์ซ่งและได้เป็นขุนพลดังเดิม ทำหน้าที่ป้องกันด่านทางภาคเหนือ และได้สร้างผลงานมากมายหลายครั้ง แต่คาดไม่ถึงว่าผลงานที่ได้สร้างเพื่อบ้านเมืองนี้จะทำให้ พานเหม่ย ซึ่งเป็นเสนาบดีในสมัยนั้นอิจฉาริษยา จึงได้ทำการวางแผนให้หยางเยี่ยต้องต่อสู่กับกองทัพเหลียว โดยไม่มีผู้ใดเข้ามาช่วยเหลือ หยางเหยียนยู่ลูกชายคนโตของหยางเยี่ยสู้รบจนสิ้นชีพ ส่วนหยางเยี่ยได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกจับกุม ทางฝ่ายเมืองเหลียวนิยมชมชอบในฝีมือของหยางเยี่ย จึงได้มีการเจรจาให้ยอมจำนน แต่หยางเยี่ยไม่ยอม เขาอดอาหารอยู่สามวันก็เสียชีวิตไปในที่สุด
หยางเหยียนเจา ลูกชายอีกคนของหยางเยี่ย เป็นตัวแทนของขุนศึกตระกูลหยางรุ่นที่สอง หยางเหยียนเจาเป็นคนที่กล้าหาญและมีความสามารถในเชิงการรบ เค้าเป็นคนที่มีระเบียบวินัยที่เข้มงวดลัใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทุกครั้งท่ำด้รับรางวัลมาก็จะแจกจ่ายให้คับเหล่าบริวาร ทุกครั้งที่มีการสู้รบก็จะนำทัพด้วยตนเองเสมอ ดังนั้นเหล่าบริวารจึงยินดีที่จะเสียสละและร่วมเป็นร่วมตายกับเค้า หยางเหยียนเจารักษาด่านทางเหนือนานถึง 20 ปี แคว้นเหลียวเกรงกลัวฝีมือของเค้าจนขนานนามเค้าว่า “ หยางหลิ่วหลาง ” เค้าต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชของประเทศ จึงได้รับกายกย่องจากประชาชนและสร้างชื่อเสียงให้กับตระกูลหยาง
หยางเหวินกว่าง บุตรชายคนที่ 3 ของหยางเหยียนเจา หยางเหวินกว่างแม้มิได้สร้างความลื่อเลื่องเช่นรุ่นปู่และรุ่นพ่อ แต่ยังคงสืบทอดรักษาเจตนารมณ์แห่งความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน ไม่ลืมอุดมการณ์ปราบปรามทางเหนือ เค้ายังได้ตีชิงเอาเมืองโยวเยี่ยนกลับคืนมา
แม่ทัพเยวี่ยเฟย (งักฮุย)
ถ้าหากเคยอ่านนวนิยายเรื่องมังกรหยกของกิมย้งมาแล้ว ในนวนิยายเรื่องนี้ได้มีการกล่าวถึงชนเผ่าต่างๆ มากมาย ที่ต้องการหนังสือเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนั้นก็คือ เยวี่ยอู่มู่อี้เหวิน หรือหนังสือที่รวบรวมผลงานเขียนของแม่ทัพ เยวี่ยอู่มู่ เพราะเชื่อกันว่าเป็นบันทึกที่มีเรื่องราวของยุทธศาสตร์และพิชัยสงครามที่ วิเศษยิ่งของแม่ทัพเยวี่ยอู่มู่ ส่วนเยวี่ยอู่มู่ผู้นี้ก็คือ แม่ทัพเยวี่ยเฟย หรือ งักฮุย นั่นเอง
เยวี่ยเฟย (งักฮุย) เป็นคนในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ เป็นแม่ทัพที่มีความสามารถทางศึกสงครามและเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยทางทหาร อย่างเข้มงวด ดังนั้นกองทัพของเยวี่ยเฟย (งักฮุย) จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นกองทัพที่แม้จะหนาวตายก็จะไม่รื้อบ้าน ยอมอดตายแต่ไม่ปล้มจี้ ตลอดชีวิตของเยวี่ยเฟย (งักฮุย) ทำศึกทั้งหมด 126 ครั้งด้วยกัน และไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว จริงๆ แล้วเยีวี่ยเฟยมิเคยแต่งตำราพิชัยสงครามแม้แต่ครั้งเดียว ส่วนเยวี่ยอู่มู่อี้เหวิน นี้ เป็นเพียงหนังสือที่รวบรวมบทกวีของเค้าเท่านั้น
ระหว่างสงครามต่อต้านการรุกรานของชาวจิน ถึงแม้ว่าเยวี่ยเฟยจะได้รับชัยชนะตลอดมา แต่ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ซ่งใต้กลับไม่มีจิตใจที่คิดจะฟื้นฟูบ้านเมือง แต่อย่างใด ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1142 พระเจ้าเกาจงได้มีรับสั่งให้ฉินฮุ่ย ซึ่งเป็นเสนาบดีในตอนนั้นไปเจรจาสงบศึกกับชาวจิน แคว้นจินตั้งเงื่อนไขในการเจรจาว่า ต้องมีการประหารชีวิตเยวี่เฟย (งักฮุย) ก่อนจึงจะเริ่มเจรจาได้ ดังนั้น ฉินฮุ่ยจึงใส่ร้ายและทำการจับกุมเยวี่ยเฟยโดยอ้างว่าเยวี่ยเฟยคิดก่อการกบฏ ในที่สุดก็สั่งประหารเยวี่ยเฟย พร้อมกับ เยวี่ยหยุนบุตรชาย และจังเสี้ยนซึ่งเป็นลูกน้องคนสนิทของเยวี่ยเฟย ในตอนนั้นเยวี่ยเฟยมีอายุแค่เพียง 39 ปีเท่านั้น
วัฒนธรรมของราชวงศ์ซ่ง
ในสมัยซ่งเหนือ งานหัถกรรมมีความรุ่งเรื่องอย่างมาก ในสมัยนั้นมีโรงงานขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีในการผลิตก็ก้าวหน้ามาก เห็นได้ชัดจาก ประเภท จำนวน และคุณภาพของการผลิตล้วนเป็นสินค้าชั้นดี โดยเฉพาะการผลิตเครื่องปั่นดินเผาและเครื่องเคลือบ
เครื่องปั่นดินเผาและเครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ว่าในทางปริมาณ หรือเทคโนโลยีการผลิตล้วนแต่ล้ำสมัยกว่ายุคก่อนๆ มาก ในสมัยนั้นเตาเผาใช้กันอย่างแพร่หลาย โรงงานบางแห่งมีเนื้อที่ถึง 20 ไร่ ใช้เตาเผาสูงถึง 20 เมตร
ในสมัยนี้เริ่มมีการใช้ธนบัตรกันแล้ว โดยธนบัตรมีบทบาทสำคัญมายิ่งขึ้นทุกๆ วัน จนในที่สุดก็นิยมใช้ธนบัตรและใช้สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้