วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็น วัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัย ปลายรัชกาลที่ 3 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนา สมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุ อยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ. 2375 ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆขึ้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ 3 ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊กในสภาพปัจจุบันที่ผ่านมากว่า 200 ปี กับวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
(ถ่ายเมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2554)
นับว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นับว่าเป็นศิลปะที่เก่าและสมบูรณ์ที่สุดเท่า ที่จะหาได้ในประเทศไทย สาเหตุที่เป็นเช่้นนี้เพราะว่า มีการรักษาอย่างดีจากทางวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร โดยอยู่ในพื้นที่เฉพาะของทางวัด ในครั้งนี้ไทยสามก๊ก ได้รับความกรุณาจากทางวัดบวรนิเวศวิหารที่อนุญาติให้ไทยสามก๊กได้เข้่าไป ถ่ายภาพออกมา โดยเรื่องราวของภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหารนี้เป็น เหตุการณ์ในตอน “ศึกผาแดง” หรือ โจโฉแตกทัพเรือ ส่วนภาพไหนจะเป็นภาพไหนนั้น ลองดูกันได้ตามใจชอบเลยนะคร้าบ
[smart-grid button_text=”ดูเพิ่ม” lightbox=”magnific-popup” title=”false”]
[/smart-grid]
[mappress mapid=”6″]