ถังซัมจั๋ง

พระถังซัมจั๋งไปช่วยถังไท่จงในนรก

ถังซัมจั๋ง
ถังซัมจั๋ง

พระถังซัมจั๋งไปช่วยถังไท่จงในนรก ในวรรณกรรมไซอิ๋วมีตอนที่ พระเจ้าถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถังต้องวิญญาณอาฆาตของพี่น้องลากไปลงนรกเพราะ ความเคียดแค้น ทำให้ถังไท่จงล้มป่วยอย่างหนัก หมอหลวงหายาอะไรมารักษาอาการก็ไม่ทุเลา พระถังซัมจั๋ง เห็นมังกรบินอยู่หน้าตำหนักแล้วหายเข้าไปในตำหนักของพระเจ้าถังไท่จง จึงคาดการณ์ได้ว่าเป็นวิญญาณร้ายที่มารังควาน จึงทำสมาธิแล้วลงไปในนรกเพื่อไปช่วย ปรากฏว่าเมื่อลงไปถึงพระถังซัมจั๋งเห็น พระเจ้าถังไท่จงกำลังโดนหลี่เจี้ยนเฉิงทรมานแสนสาหัสเนื่องด้วยพระเจ้าถัง ไท่จงได้เป็นผู้ฆ่าหลี่เจี้ยนเฉิงตายเนื่องจากต้องการแย่งชิงอำนาจ พระถังซัมจั๋งจึงได้เข้าไปห้ามปรามและเทศนาให้วิญญาณลดความอาฆาตลง และยอมปล่อยพระเจ้าถังไท่จงกลับมา และหายจากอาการป่วยทั้งหมด หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าถังไท่จงรู้สึกสำนึกในความผิดต่างๆมากมาย และหันมาพัฒนาประเทศจีนให้รุ่งเรืองมายิ่งขึ้นเพื่อชดเชยในสิ่งที่ทำไปใน อดีต

ถังไท่จง
ถังไท่จง

เหตุการณ์ที่เป็นตราบาปของพระเจ้าถังไท่จงที่กระทำต่อพี่น้อง พระเจ้าถังไท่จงสมัยเป็นองค์ชายชื่อว่า หลี่ซื่อหมิน , เหตุการณ์ที่ทำให้หลี่เจี้ยนเฉิงอาฆาตเกิดจากเรื่องราวดังนี้ “หลี่ซื่อหมินที่นำทัพปราบไปทั่วแผ่นดิน นับว่าสร้างผลงานความชอบที่โดดเด่น เป็นที่ริษยาของพี่น้อง ประกอบกับระหว่างการกวาดล้างกองกำลังน้อยใหญ่นั้นได้เพาะสร้างขุมกำลังทาง ทหาร และยังชุบเลี้ยงผู้มีความสามารถไว้ข้างกายจำนวนมาก อาทิ อี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ หลี่จิ้ง ฝางเซวียนหลิ่ง เป็นต้น อันส่งผลคุกคามต่อรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นเหตุให้รัชทายาทเจี้ยนเฉิงร่วมมือกับฉีหวังหลี่หยวนจี๋เพื่อจัดการกับ หลี่ซื่อหมิน ปัญหาข้อขัดแย้งดังกล่าวทำให้สองฝ่ายยิ่งทวีความเป็นปรปักษ์มากขึ้นจวบจน กระทั่งปี 626 หลี่ซื่อหมินชิงลงมือก่อน โดยกราบทูลเรื่องราวต่อถังเกาจู่ ถังเกาจู่จึงเรียกทุกคนให้เข้าเฝ้าในเช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่ขบวนของหลี่เจี้ยนเฉิงและหลี่หยวนจี๋ผ่านเข้าประตูเสียนอู่นั้น (ประตูใหญ่ทางทิศเหนือของวังหลวง)หลี่ซื่อหมินก็นำกำลังเข้าจู่โจมสังหาร รัชทายาท และฉีหวัง เหตุการณ์ครั้งนี้ต่อมาได้รับการเรียกขานว่า เหตุเปลี่ยนแปลงที่ประตูเสียนอู่ภายหลังเหตุการณ์ ถังเกาจู่แต่งตั้งหลี่ซื่อหมินเป็นรัชทายาท จากนั้นอีกสองเดือนต่อมาก็ทรงสละราชย์ ให้หลี่ซื่อหมินขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา ทรงพระนามว่า ถังไท่จง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *